ล้านนา กับ ปอง เยี้ยว ม่าน ยาง บ้านเมืองทาง “วันตกนกนอน” : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างอาณาจักรล้านนา กับเครือข่ายรัฐจารีตตอนในภาคพื้นทวีปด้านตะวันตก (คริสต์ศตวรรษที่ 14-16)

วิชญา มาแก้ว

Abstract


บทความนี้ เป็นการศึกษาค้นคว้าหลักฐานและวิเคราะห์เหตุการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองระดับ
รัฐอันซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ระหว่างล้านนากับรัฐจารีตทางตะวันตก
ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐตอนในภาคพื้นทวีปเช่นเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ล้านนา
ปะทะสัมพันธ์กับบ้านเมืองแถบลุ่มแม่น้ำคง(สาละวิน) และแม่นํ้าเกว(อิรวดี) รัฐของ
กลุ่มคนที่ล้านนาเรียกว่า ชาว “ปอง-เยี้ยว” (ไทใหญ่) “ม่าน” (พม่า) และ “ยาง”
(กะเหรี่ยง) ตลอดมา ดินแดนแถบนี้เป็นแหล่งสินค้าของป่าและแร่มีค่า ตลอดจน
เป็นเส้นทางการค้าสำคัญ ที่เรียกได้ว่าเป็น “เส้นทางสายไหมทางใต้” ซึ่งเชื่อมตอน
ใต้ของจีนเข้ากับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียผ่านทางอ่าวเมาะตะมะ อนึ่ง
ในยุคโบราณ “การค้าทางไกลระหว่างรัฐ” เป็น “การค้าแบบจารีต” คือรูปแบบ
การค้าของรัฐที่แฝงไปกับการติดต่อทางการทูตหรือทางศาสนา ความสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจจึงยึดโยงกับการเมืองอย่างแยกไม่ออก ร่องรอยที่ล้านนาติดต่อสัมพันธ์กับ
รัฐต่าง ๆ อีกทั้งความพยายามในการแผ่อิทธิพลในแถบนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อบังคับสินค้า
จากตอนในภาคพื้นทวีปให้ไหลเวียนไปยังล้านนาก่อนส่งผ่านไปยังรัฐเมืองท่าชายฝั่ง
ทะเล เพื่อตอบสนอง “ยุคแห่งการค้า” ระดับภูมิภาค ที่กำลังก่อตัวขึ้นนับแต่ ค.ศ.
1400 เป็นต้นมา

This article aims to examine historical evidences and
historical events in order to understand the complexity of economic
and political relationship between Lãn Nã Kingdom and other
traditional states located on the western hinterland of the kingdom.
It purposes to broaden knowledge about economic and political
contexts and connection of these states during the 14th-16th century.
The study argues that Lãn Nã highly connected with
“Pōng-Yéaw” (Shan), “Mārn” (Burmese), and “Yāng” (Karen),
which were located around river basins of “Không” (Salween)
and “Kéw” (Irrawaddy), land of forest products and gemstones.
This trade route was called ‘the Southern Silk Road’ and it was an
important trade route that linked the southern part of China, the
Andaman Sea, and the Indian Ocean through the Gulf of Martaban.
Moreover, at that time, the trade route was aimed to serve political
and religious purposes rather than focusing only on goods exchange.
These relations are intertwined and it is inseparable.
Thus, economic relations that embedded with the political
relations, represented the strong interaction between Lãn Nã and
other states. From these relations, Lãn Nã attempted to expand its
power in order to gain more forest products and other advantages
from these hinterland states. It forced the trade route into its
marketplaces before exported to southern seaport states due to an
expansion of the so-called “the Age of Commerce” since 1400 A.D.

 


Keywords


Lãn Nã, Burma, Hinterland State, Traditional Trade, Politics of Traditional State.

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ