Announcements

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
     มาตรฐานทางจริยธรรมของบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

จริยธรรมของบรรณาธิการต่อการทำงานวาสาร (Editor Ethics)
     1. ทำหน้าที่รับบทความและจัดกระบวนการพิจารณาบทความในรูปแบบ Double Blind Peer Review
     2. ควบคุม ดูแลกระบวนการตีพิมพ์บทความของวารสาร (Peer Review Process) ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
และขอบเขตของวารสาร ตามมาตรฐานทางวิชาการ
     3. เผยแพร่เนื้อหาบทความและดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องทางวิชาการ และจะต้องไม่ขัดกับจริยธรรมและศีลธรรม
     4. ไม่รับพิจารณาบทความโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางวิชาการ
     5. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
     6. ปรับปรุงคุณภาพวารสารให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
     7. สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการของผู้เขียน
     8. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
     9. ไม่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้แต่ง หรือผู้ประเมินบทความ
     10. รับพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติ
     11. กรณีใดที่เกินอำนาจ หน้าที่ของบรรณาธิการ จะนำเรื่องเข้าสู่กองบรรณาธิการเพื่อร่วมกันตัดสินใจ

จริยธรรมของผู้นิพนธ์บทความ  (Author Ethics)
     1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองบทความที่จัดส่งมายังวารสารว่าไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการรอการตีพิมพ์ หรืออยู่ในกระบวนการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ไม่ว่ารูปแบบใด ๆ
     2. ผู้นิพนธ์ต้องแสดงเอกสารใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนจากสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานการวิจัยในคน สำนักงานวิจัยแห่งชาติ และเป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรมและกฎหมายสากล (หากบทความมีการวิจัยในคน ตามเงื่อนไขของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ)
     3. ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบรูปแบบบทความ ขนาดตัวอักษร รูปภาพ และตารางตามข้อกำหนดของวารสาร
     4. ผู้นิพนธ์จะต้องแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน (หากมี) ให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่วารสารกำหนด
     5. หากมีผู้ร่วมนิพนธ์หลายคน ต้องแสดงเอกสารที่ได้รับความยินยอมและรับทราบการส่งบทความมายังวารสาร
     6. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่คัดลอกผลงานจากแหล่งอื่น (Plagiarism) และต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง
     7. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
     8. ข้อความในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์และคณะ
     9. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewer Ethics)
     1. ผู้ประเมินบทความพิจารณาประเมินบทความตามความเชี่ยวชาญของตนเอง และหากตรวจพบความซ้ำซ้อนของบทความกับบทความฉบับอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ เพื่อระงับการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์
     2. ผู้ประเมินจะต้องพิจารณาคุณภาพบทความ ให้ข้อเสนอแนะและข้อแก้ไขปรับปรุง ในการรับบทความหรือปฏิเสธการรับบทความพร้อมเหตุผลตามหลักวิชาการ เป็นลายลักษณ์อักษรมายังบรรณาธิการได้รับทราบ
     3. ผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความระหว่างการพิจารณาประเมินบทความหรือจนกว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์
     4. ผู้ประเมินจะต้องพิจารณาประเมินบทความให้แล้วเสร็จในกรอบเวลาที่บรรณาธิการกำหนด

เงื่อนไขการตีพิมพ์

 
เงื่อนไขการตีพิมพ์  
Posted: 2017-01-06 More...
 
1 - 1 of 1 Items