ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสภาพสังคมวัฒนธรรม : ภาพสะท้อนจากภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง / The Geographical Nature, Local History and Socio-Cultural Aspects : Reflection from Toponyms of Village Names in Lampang Province

โอฬาร รัตนภักดี

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และสภาพสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านภูมินามหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง โดยศึกษาจากประวัติความเป็นมาและคุณค่าของภูมินามหมู่บ้านจำนวนทั้งสิ้น 985 ชื่อ ผลการศึกษาพบว่าภูมินามหมู่บ้านสามารถสะท้อนถึงธรรมชาติที่หลากหลายของจังหวัดลำปางโดยแบ่งได้เป็นสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และพรรณพืชพรรณสัตว์ รวมไปถึงปรากฏร่องรอยของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปางในภูมินามหมู่บ้าน ทั้งที่เกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญ บุคคลสำคัญ กลุ่มชนหรือชาติพันธุ์ สถานที่สำคัญ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของชุมชน อีกทั้งวัตถุหรือสิ่งของสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ ภูมินามหมู่บ้านยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วยตำนานและนิทานพื้นบ้าน วิถีชีวิต ความเชื่อและค่านิยม ตลอดจนลักษณะทางการ

The purposes of this article are to explore the geographical nature, local history and socio-cultural aspects reflected in toponyms of village names in Lampang province with emphasis on historical background and values of those toponyms. The 985 village names have been reviewed. It was found that the names reflected the holistic feature of Lampang province, including the geography, local history and socio-cultural aspects. 3 aspects reflected in the village names include: 1) varieties of the nature type such as geography, climates and abundance of flora and fauna; 2) local histories of the province, such as phenomena, important people, social groups and ethnic groups, important places, locations and sizes of community and antiques; and 3) socio-cultural aspects on local legends and folktales, ways of life, folk beliefs and values, and local governance.

 


Full Text:

PDF

References


บรรณานุกรม

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2546).ทำเนียบท้องที่พุทธศักราช 2546 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 . (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธิดา สาระยา. (2525). ตำนานและตำนานประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

รังสรรค์ จันต๊ะ. (2552). บ้าน โหล่ง และเมือง เขตความสัมพันธ์บนฐานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน ในแอ่งเชียงใหม่ – ลำพูนตอนบน. เชียงใหม่ : บริษัทธารปัญญา จำกัด.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (กรกฎาคม - ธันวาคม 2538). การศึกษาชื่อสถานที่ภาษาไทยและภาษาจีนในประเทศไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม 14, 2 : 20-37.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (มกราคม – มิถุนายน 2543). ชื่อหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 19, 1 : 51- 75.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (ธันวาคม 2543). ชื่อบ้านใน 4 จังหวัดภาคใต้ : ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย 17: 108 – 119.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

โอฬาร รัตนภักดี และวิมลศิริ กลิ่นบุบผา. (2553). ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัยซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2551.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ