องค์ประกอบของวัฒนธรรมการกินเจในสังคมไทย: กรณีศึกษาการกินเจในกรุงเทพมหานคร

ยงเหมย จาว, ดวงกมล บางชวด, สืบพงศ์ ช้างบุญชู

Abstract



          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมการกินเจในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ บุคลากรของสถานที่สำคัญที่จัดพิธีการกินเจและผู้กินเจ รวมเป็นจำนวน 21 คน นอกจากนี้ ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในสถานที่จัดพิธีการกินเจ 11 แห่ง เพื่อรวบรวมข้อมูล และนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบของวัฒนธรรมการกินเจ
          ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านองค์มติ สื่อถึงความเชื่อทางศาสนาพุทธนิกายมหายานและศาสนาเต๋า ซึ่งมีการนับถือดวงดาวเช่นกัน พุทธศาสนิกชนมหายานจะสละโลกียวิสัยและบำเพ็ญศีลเพื่อเป็นการบูชานพราชาพุทธเจ้าในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 ส่วนศาสนาเต๋านับถือและจะบูชาเทพนพราชาและเทพกฤติกามาตุ หลักการในการกินเจช่วยให้การกินเจเป็นไปอย่างถูกต้องตามความเชื่อ 2) ด้านองค์การ มีองค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมร่วมในการสืบสานและเผยแพร่วัฒนธรรมกินเจรวมถึงการจัดงานเทศกาลกินเจและพิธีกรรมต่าง ๆ 3) ด้านองค์พิธีการ การกินเจในลักษณะกินเป็นกิจวัตรไม่มีการจัดพิธีกรรมโดยเฉพาะสำหรับการกินเจในช่วงเทศกาลกินเจมีการจัดพิธีกรรมใหญ่และพิธีกรรมประจำวัน พิธีกรรมสำคัญเช่น พิธีอัญเชิญพระนวราชาพุทธะ (กิ๋วอ๊วงฮุกโจ้ว) ฯลฯ ในศาสนาพุทธมหายานและศาสนาเต๋ามีลักษณะคล้ายกัน 4) ด้านองค์วัตถุ รวมถึงสถานที่สำสำคัญ อาหารเจ และสัญลักษณ์ที่สำคัญมีบทบาทสำคัญในการสื่อความหมายและส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวัตถุประสงค์ของเทศกาล

Keywords


วัฒนธรรมการกินเจ, องค์ประกอบของวัฒนธรรม, กรุงเทพมหานคร

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ