การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อสำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง

สมบูรณ์ ปัญญายืน

Abstract



          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อระหว่างก่อนและหลังฝึกโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อสำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อ ซึ่งเป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยการทดลองกลุ่มเดียว คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่เรียนวิชากีฬาเพื่อความเป็นเลิศกีฬาเซปักตะกร้อ ตำแหน่งหลังในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าเฉลี่ย 4.71 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2) แบบทดสอบภาคปฏิบัติการเสิร์ฟลูกตะกร้อค่าดัชนีตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.0 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อ ดัชนีความตรงของเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติหาประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติทดสอบไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ Wilcoxon-Signet Rank Test
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.39/85.57 2) ทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อของนักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง โดยใช้ชุดฝึกทักษะ การเสิร์ฟลูกตะกร้อหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะการเสิร์ฟลูกตะกร้อ โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด

Keywords


ชุดฝึกทักษะ, การเสิร์ฟ, ลูกตะกร้อ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ