“ยินเสียงแต่ไร้ความหมาย นัยที่หายไประหว่างการเดินทางของภาษา” กรณีศึกษาการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาในการแปลชื่อตัวละครเอกจากนวนิยายซีไรต์เรื่อง “อมตะ”

เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว, ขนิษฐา จิตชินะกุล, บุรินทร์ ศรีสมถวิล

Abstract


บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาประเด็นการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาของการแปลชื่อตัวละครหลักในนวนิยายซีไรต์เรื่อง “อมตะ” ของ วิมล ไทรนิ่มนวล จากภาษาไทยเป็นภาษาจีน โดยศึกษาจากชื่อตัวละคร พรหมินทร์ ธนบดินทร์, อรชุน ภควัท และ ชีวัน ซึ่งผู้ประพันธ์ใช้กลวิธีการอ้างถึง (allusion) ในการตั้งชื่อตัวละครหลัก เพื่อสื่อนัยเกี่ยวกับชีวิตและการดำรงอยู่ ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในกระบวนการแปลที่ทำให้เกิดกรณีการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นทางด้านภาษา เกิดจากการที่ผู้แปลตีความบริบทของชื่อตัวละครไม่ครบถ้วน ทำให้ชื่อของตัวละครในภาษาจีนที่แปลด้วยการทับศัพท์เสียงไม่สามารถสื่อความถึงนัยเกี่ยวกับชีวิตและการดำรงอยู่ที่ผู้ประพันธ์แฝงไว้ และเชิงอรรถที่ใส่เพื่ออธิบายก็ตีความตามพจนานุกรม ไม่ได้ตีความตามบริบทที่ผู้ประพันธ์อ้างอิงถึง สาเหตุของการแปลคลาดเคลื่อนในบริบทนี้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยมีตัวแปรเหตุ X1 การตีความบริบทคลาดเคลื่อนทำให้เกิดตัวแปรผล X2 ตัวอักษรจีนที่ใช้ไม่สื่อความถึงนัยแฝง เมื่อนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแปลของ บุรินทร์ ศรีสมถวิล วัลยาวิวัฒน์ศร กนกพร นุ่มทอง และ Pei Xiaorui มาทำเป็นโมเดลเพื่อใช้ในกระบวนการแปล จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวแปร X1 และ ตัวแปร X2 ในเชิงจุลภาคตามบริบทนี้ได้ และอาจแก้ไขปัญหาการ “ก้าวไม่ข้าม” ความเป็นอื่นด้านภาษาในการแปลเชิงมหภาคระหว่างภาษาไทยและภาษาจีนได้


Keywords


การแปล, การก้าวไม่ข้ามความเป็นอื่นด้านภาษา, ชื่อตัวละครเอก, อมตะ, นวนิยายซีไรต์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ