ประสิทธิภาพการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ของเทศบาลในจังหวัดเลย

อังสณา ถิ่นคำบง, ธนวิทย์ บุตรอุดม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่และประสิทธิภาพของการบริหารการคลังของเทศบาลในจังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิภาพของการบริหารการคลังของเทศบาลในจังหวัดเลย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการบริหารการคลังของเทศบาลในจังหวัดเลยและ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ของเทศบาลในจังหวัดเลย โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัย เชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในเทศบาล จำนวน 362 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ นายกเทศมนตรี จำนวน 5 คน ปลัดเทศบาล จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการกองคลัง จำนวน 5 คน และหัวหน้าสำนักปลัด จำนวน 5 คน รวมผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทั้งสิ้น จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่
ของเทศบาลในจังหวัดเลย ประกอบด้วยปัจจัยด้านการปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการปรับวิธีการบริหารจัดการ ด้านการบริหารอย่างมืออาชีพ และด้านนโยบายและขั้นตอน โดยปัจจัยทั้ง 5 ด้านร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารการคลังตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ของเทศบาลในจังหวัดเลย ได้ร้อยละ 68.60 (  = .686)


Keywords


ประสิทธิภาพ การบริหารการคลัง การจัดการภาครัฐแนวใหม่

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ