การดัดแปลงวรรณคดีฉบับสำหรับพระนครเป็นศิลปะมหาชนประเภทศิลปะการแสดง

อาทิตย์ ดรุนัยธร

Abstract


          บทความเรื่องการดัดแปลงวรรณคดีฉบับสำหรับพระนครเป็นศิลปะมหาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของการดัดแปลงวรรณคดีฉบับสำหรับพระนครเป็นศิลปะมหาชนประเภท การแสดง โดยใช้กลุ่มข้อมูล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวบทต้นทาง คือวรรณคดีฉบับสำหรับพระนคร จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และดาหลัง และกลุ่มตัวบทปลายทาง คือ ละครดึกดำบรรพ์ ละครเวทีสมัยใหม่ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และภาพยนตร์แอนิเมชัน ได้ผลการศึกษาดังนี้

          การดัดแปลงวรรณคดีฉบับสำหรับพระนครเป็นศิลปะมหาชน แบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ยุคคลาสสิก ศิลปะย่อมส่องทางให้กัน ซึ่งเน้นการดัดแปลงที่ซื่อสัตย์ในการนำเสนอเนื้อเรื่องตามตัวบทต้นทางยุคสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนสู่สื่อใหม่ เป็นการดัดแปลงวรรณคดีเป็นสื่อสมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งลักษณะการดัดแปลงเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การดัดแปลงเพื่อมุ่งประโยชน์ทางการค้าและการดัดแปลงเพื่อเสนอแง่คิดแก่สังคม และยุคหลังสมัยใหม่ เปลี่ยนรูป แปลงเรื่อง แปรสาร เป็นการดัดแปลงที่มีการปรับเปลี่ยนทั้งในด้านรูปลักษณ์ เนื้อเรื่อง ตัวละคร ตลอดจนแก่นเรื่อง สำหรับด้านการดัดแปลงวรรณคดีฉบับสำหรับพระนครเป็นศิลปะมหาชน พบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การสร้างซ้ำ การตีความใหม่ และการสร้างใหม่ โดยใช้แนวคิดในการดัดแปลง 6 ลักษณะ ได้แก่ แนวคิดเรื่องการดัดแปลงข้ามสื่อ แนวคิดเรื่องผู้รับสาร แนวคิดเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม แนวคิดเรื่องการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แนวคิดเรื่องการผสมผสานทางวัฒนธรรม และแนวคิดเรื่องการทำให้ทันสมัย


Keywords


การดัดแปลง, วรรณคดีฉบับสำหรับพระนคร, ศิลปะการแสดง, ศิลปะมหาชน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ