การประเมินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟแหล่งน้ำหนองมน หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง / Assessment of Nongmon Water Source Conservation and Restoration Project, Village No. 1, Nonglom Sub-district, Hang chat District, Lampang Province

ยุพิณ อูปนวล, ธนวิทย์ บุตรอุดม

Abstract


การประเมินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองมน หมู่ 1
ตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์คือ
1) เพื่อติดตามการดำเนินงานเมินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ
หนองมน 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการ
อนุรักษ์ฟื้นฟูู แหล่งน้ำหนองมน หมู่ 1 ตำบลหนองหล่ม อำเภอ
ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ
CIPP (CIPP Evaluation Model) ที่ประกอบด้วยด้านบริบท ด้าน
ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำ
ภาค 1 จำนวน 6 คน และประชาชน จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใ
ช้ศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (x) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอพิวเตอร์ และ
การวิเคราะห์ความเรียงจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


1) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่าโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนอง
มนมีความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงการฯ และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของ
ชุมชน เนื่องจากสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วยป้องกัน
ปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ประชาชนมีความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์ของโครงการฯ การ
ดำเนินโครงการมีความชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายของกรมทรัพยากร
น้ำมาก สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้ตามตรง
วัตถุประสงค์ขององค์กร ในภาพรวมผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด
2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำมีศักยภาพ ความ
สามารถและความรับผิดชอบต่อการดำเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองมน
และมีแนวทางดำเนินงานโครงการฯ ได้อย่างเหมาะสม ด้านงบประมาณ อุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ มีความเพียงพอและเหมาะสม ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการ
อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองมนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในภาพรวม
ผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก
3) ด้านกระบวนการ พบว่า มีการประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่ง
น้ำหนองมนไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง มีการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีดำเนิน
โครงการฯให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจน ครอบคลุมในพื้นที่ ช่วงเวลาดำเนินโครงการฯ
มีความเหมาะสม กิจกรรมมีความสอดคล้องหรือตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการมีการ
รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ได้ประโยชน์จากโครงการ และประชาชนในพื้นที่มี
ส่วนร่วม เช่น ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ ร่วมดูแลรักษาฟื้นฟู
แหล่งน้ำ เป็นต้น ในภาพรวมผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก
4) ด้านผลผลิต พบว่า โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองมน สามารถใช้
ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเพียง
พอกับความต้องการของประชาชน พื้นที่รับประโยชน์จากโครงการเพิ่มขึ้น โครงการฯ
สามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ/ภัยแล้งได้ โครงการฯ ทำให้มีน้ำใช้เพื่ออุปโภคเพิ่ม
ขึ้น มีน้ำเพื่อการเกษตร เพาะปลูกเพิ่มขึ้น มีน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น และมีน้ำเพื่อ
การประมงเพิ่มขึ้น รวมถึงโครงการฯ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ ำ โ ค ร ง ก า ร ฯ ส า ม า ร ถ แ ก้ ไข ปั ญ ห า น้ ำ ท่ ว ม น้ ำ ห ล า ก ไ ด้ ใ น ภ า พ ร ว ม ผ ล ก า ร

ประเมิน อยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ การติดตามประเมินโครงการ, อนุรักษ์ฟื้นฟู, ศักยภาพ, ประเมินผล
แหล่งน้ำหนองมน

The Assessment of Nongmon Water Source Conservation
and Restoration Project, Village No. 1, Nonglom sub-district, Hang chat District, Lampang Province had the objectives to 1) follow up the assessment of Nongmon Water
Source Conservation and Restoration Project (NWSCRP) 2)
recommend guidelines for solving problems of NWSCRP by
applying CIPP Evaluation Model consisting of Context,
Input, Process and Product. The study sample consisted of
the executives and officers of the Office of Water Resource
Region I and the concerned people totaled 296 respondents.
The tools used in the study were a questionnaire and
an interview form. The statistics used in data analysis
were percentage, means and standard deviations using a
computer package and contents analysis from the interview
form. The results of the study can be concluded as follows:

1) Context or Environment: It was found that the NWSCRP was needed and
in line with the true needs of the community because it could solve the
problem of lacking water in the dry season and prevent the flood in the
rainy season. The people understood the objectives of the project. Project
operations were clear and suitable according to the Water Resource Department
policies and could solve the people’s problems in the target area as per the
organization’s objectives. The overall assessment result was at the highest
level.
2) Input: It was found that the Water Resource Department officers had
appropriate abilities and responsibilities in the operations of the NWSCRP.
The budget, equipment and tools were adequate and appropriate and made
the NWSCRP efficient and effective. The result of the assessment was at the
high level.
3) Process: It was found that there was adequate public relations of
NWSCRP to the people with meetings to clearly inform the objectives
and operation method covering the whole area. Project execution
period was appropriate with activities agreeing or the same as the project
objectives. There were public hearings of the people benefit from the
project and the people participated in the project such as in giving opinions
concerning the project operations and caring and maintaining the water
source afterward. The overall picture of the assessment was at the high level.
4) Product: It was found that the NWSCRP could be used according to
the needs of the people in the area. It increased the supply of water
sufficient for the people’s needs and at the same time it also increased
the area beneficial from the project. It could solve the problem of
inadequate water/drought in the dry season and increased the
consumable water for agriculture, growing vegetables and raising animals
including the water for fishery. The project also served as a breeding and
conserving source for water animals and in solving the problem of flood in
the rainy season. The overall picture of the assessment was at a high level.

Keywords: Project Assessment; Conservation and

Restoration; Abilities; Nongmon water source




Full Text:

Untitled

References


รายการอ้างอิง

กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). รายงานผลการปฏิบัติ

ราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2553 รอบ 12 เดือน (1 ตุลาคม 2552- 30 กันยายน 2553). ค้นหาออนไลน์

http://www.dwr.go.th/contents/filemanager/PDG/DWR_SAR-12M_

v211053.pdf

กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). รายงานการศึกษา

วิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำชี.

ส่วนวิจัยและพัฒนาทรัพยากรน้ำ สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา. ค้นหาออนไลน์

http://www.dwr.go.th/contents/files/article/article_th-27012012-155051-

pdf วันที่ 15 ตุลาคม 2556.

จงรักษ์ รัตนวิฑูรย์. (2539). การศึกษาการดำเนินงานตามโครงการปรับแผนการสอนสำหรับ

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จําเนียร สุขหลายและคณะ. (2540). แบบจำลอง CIPP. รวมบทความทางการประเมินโครงการ

.(พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธงชัย สันติวงษ์ และคณะ. (2542). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 6. ไทยวัฒนา

พานิช, กรุงเทพฯ.

นิศา ชูโต. (2538). การประเมินผลโครงการ. พิมพ์ครั้งที่4. เฟมโปรดักชั่นส์, กรุงเทพฯ.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2539). การบริหารโครงการ. เนติกุลการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. ด่านสุทธาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ไพศาล หวังพานิช. (2533). หลักและวิธีการประเมินโครงการ. ประธานชน, กรุงเทพฯ.

ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสนศาสตร์. บพิธการพิมพ์,

กรุงเทพฯ.

ยุวดี จันทวงศ์วิไล. (2547). การประเมินโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2542). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รัตนะ บัวสนธ์. (2540). การประเมินผลโครงการวิจัยประเมิน. คอมแพคท์พรินท์, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.

นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. กรุงเทพฯ.

ศิริชัยกาญจนวาสี. (2536). ทฤษฎีการประเมิน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร, กรุงเทพฯ.

สมควร ป้อมบุบผา. (2544). การประเมินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนประถมศึกษา

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ. ออพเซทอาร์ท ออโตเมชั่น, กรุงเทพฯ.

สมชาย โพธิวิชยานนท์. (2534). การประเมินโครงการฝึกอาชีพในโรงเรียนฝึกอาชีพ

สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย สุขสด. (2544). การประเมินผลโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถม สังกัดสำนัก

งานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สมยศ นาวีการ . (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บรรณกิจ 1991,

กรุงเทพฯ.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2544). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุขุม มูลเมือง. (2530). เทคนิคการประเมินผลโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์องค์การสง

เคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ.

สายหยุด ใจสำราญและคณะ. (2543). การพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ศูนย์เอกสารและตำรา

สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ

โสภณ สุวรรณวงศ์. (2537). การประเมินโครงการศูนย์วิชาการเขต สำนักการศึกษา

กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. สถาบันราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคําแหง, กรุงเทพมหานคร.

สำราญ มีแจ้ง. (2543). การประเมินโครงการทางการศึกษา. นิธินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ,

กรุงเทพฯ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ