การส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลของสังคมไทย

อติพร เกิดเรือง

Abstract


          ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและข้อมูลสื่อดิจิทัล ส่งผลให้สังคมโลกก้าวไปสู่สภาวะที่ทุกสิ่งจะเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน (Internet of Everything) หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารเข้าหากันอย่างใกล้ชิดดังที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ สภาวะดังกล่าวจะนำไปสู่โอกาสที่มากมายของพลเมืองในยุคดิจิทัล แต่ในมุมกลับกันก็นำมาสู่ความไม่แน่นอนต่อภัยคุกคามด้วยเช่นกัน เมื่อผู้อยู่ในวัยผู้ใหญ่ในวันนี้เริ่มสูงอายุขึ้น ขณะที่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นพลเมืองยุคใหม่เริ่มเติบโตเข้าสู่ระบบการศึกษา จบการศึกษาออกไปประกอบสัมมาชีพ ต้องประสบกับสภาพแวดล้อมในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของเทคโนโลยี จึงเป็นเรื่องที่ยากที่จะคาดเดาต่อสถานการณ์ในอนาคต ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้เอง พลเมืองในยุคดิจิทัล อาจหมายรวมถึงเด็กและเยาวชนในวันนี้ควรได้รับการติดอาวุธทางปัญญา โดยส่งเสริมให้เกิดสมรรถนะความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือกับภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันหน้าที่ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ก็ต้องมีความหวังว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ พลเมืองไทยจะมีความตระหนักรู้ในการดำรงชีวิตที่สร้างคุณค่าและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีภัยคุกคามหรือสภาวะปัญหาที่หลากหลายตามสภาพและแหล่งที่มา แต่สิ่งที่จะช่วยให้สังคมเดินหน้าไปในทิศทางที่ดีนั้น พลเมืองในยุคดิจิทัล ควรมีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การเคารพและให้เกียรติกัน การยอมรับและเข้าใจซึ่งกันและกัน การเห็นอกเห็นใจกัน การลดความเหลื่อมล้ำของข้อมูลและข่าวสาร รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพของบุคคลมีการแบ่งปันเกื้อกูล อันเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับสังคมในยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคงปลอดภัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศร่วมกันอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไปในอนาคต


Keywords


ความฉลาดทางดิจิทัล, หน้าที่พลเมืองในยุคดิจิทัล, สังคมไทย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ