การพัฒนาและการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมและการตกแต่ง ผลงานเครื่องปั้นดินเผา บ้านม่อนเขาแก้ว จังหวัดลำปาง

เจษฎา ทองสุข, สมชาย เยี่ยงพฤกษาวัลย์

Abstract


     การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อสร้างองค์ความรู้เทคนิคตกแต่งการสร้างสรรค์งานสำหรับเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้ดินพื้นบ้านม่อนเขาแก้วเป็นวัตถุดิบในการศึกษา 2.เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผากรณีศึกษาแรงบันดาลใจจาก “วิถีชนเผ่าในจังหวัดลำปาง” งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเทคนิคตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาและกระบวนการพัฒนารูปแบบของผลงานประติมากรรม ทำการวิเคราะห์การออกแบบโดยอ้างอิงหลักองค์ประกอบศิลป์และหลักการออกแบบประกอบกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้หลักสุนทรียศาสตร์สร้างคุณค่าให้กับผลงาน ให้สอดคล้องกับแนวความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการศึกษาวิจัยที่ได้ผลดังนี้ 1) ผลการทดลองได้เทคนิคที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ ทดลองเนื้อดินบ้านม่อนเขาแก้วจะได้สีแดงส้มเมื่อผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 800 -1,100 องศาเซลเซียส ได้ผลการทดลองดินสีจำนวน 13 แผ่นการทดลอง ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตกแต่งบนเนื้อดินม่อนเขาแก้วโดยไม่แตกร้าวหรือหลุดร่อน เมื่อผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส และดินสีเหล่านี้จะมีค่าสีที่เข้มขึ้นเมื่อใช้เคลือบร่วมด้วย และผลการทดลองตกแต่งสุดท้ายคือการทดลองสีบนเคลือบเขียนตกแต่งลงบนชิ้นงาน
มีทั้งแบบเขียนสีลงบนเคลือบใสและแบบไม่มีเคลือบ สุกตัวในอุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส มีลักษณะสีสันสดใสและจางเป็นบางสี ใช้เพื่อตกแต่งให้ผลงานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 2) ได้ผลงานสร้างสรรค์ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาจำนวน 11 รูปแบบ โดยสร้างสรรค์จากแนวความคิดวิถีชนเผ่า เป็นผลงานประติมากรรมที่มีรูปทรงอิงภาชนะแจกัน สามารถนำไปเป็นผลงานประเภทใช้งานได้จริงและประเภทตกแต่งสถานที่ เป็นการสร้างองค์ความรู้และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าชุมชมให้เกิดความหลากมากยิ่งขึ้น


Keywords


เครื่องปั้นดินเผา, เทคนิคตกแต่ง, ประติมากรรม, ดินสี, สีบนเคลือบ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ