รูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชน ในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของยุวชนในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชน
และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชน
ในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จากอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวน 416 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของยุวชนในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย พบว่า ยุวชนมีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในด้านทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน เป็นประจำ ส่วนปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชนในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการจัดกิจกรรม ซึ่งมีตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษจำนวน 5 ตัว ได้แก่ TBCLC ซึ่งแต่ละตัวมีความหมายถึง การกำหนดงาน มีฐานความรู้ ผสมผสานการเรียนในห้องเรียน การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และพี่เลี้ยง ตามลำดับ
3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับยุวชนในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านมาตรฐานความถูกต้องแม่นยำ รองลงมา ได้แก่ ด้านมาตรฐานการใช้ประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านมาตรฐานความเหมาะสม
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ