บทบรรณาธิการ
Abstract
ประเด็น "ว่าด้วย กรรมกร แรงงาน ลูกจ้าง" พยายามจะสะท้อนให้เห็นแรงงานทั้งในฐานะของกลุ่มคน ชนชั้น สถานภาพ ชีวิตและอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาที่แฝงตัวอยู่ในสังคมรอบตัวเรา ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับแรงงานเพียงเล็กน้อย สหภาพแรงงานที่พอจะมีอยู่ก็เป็นองค์กรที่อยู่ห่างไกลเกินเอื้อมสำหรับผู้คนในวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถรวมกลุ่มกันจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ เพียงเพราะไม่ถูกคุ้มครองภายในกฎหมายของรัฐ นั่นหมายถึง การขาดกลไกเชิงสถาบันในการต่อรองอำนาจกับผู้ว่าจ้างและรัฐไปด้วย
ภาพรวมของบทความในเล่มนี้ ได้สะท้อนถึงสภาพการจ้างงานและตัวตนของแรงงานที่หลากหลายมุมมอง เริ่มต้นด้วยผลงาน “แรงงานข้ามชาติไทใหญ่ : พลเมืองไทยที่ยังไร้สถานะพลเมืองตามกฎหมาย” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ และชัยพงษ์ สำเนียง ชี้ให้เห็นถึงความเป็นแรงงานข้ามชาติกับสภาพที่ไม่ถูกคุ้มครองตามกฎหมาย การทำงานไกลบ้าน นอกจากเสี่ยงอันตรายต่างๆแล้ว ยังพบกับความไม่มั่นคงของชีวิตด้วยกรณีเช่นนี้อีก
“พื้นที่ความเชื่อในโลกสมัยใหม่: ตัวตนใหม่ของผู้หญิงชนชั้นกลางที่ทำงานนอกบ้าน” โดย ภัทริยา คง ธนะ แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของผู้หญิงชนชั้นกลางที่ทำงานนอกบ้านท่ามกลางสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ทำให้พวกเธอต้องพึ่งพิงความเชื่อในโลกสมัยใหม่ที่มีลักษณะทางศาสนาที่มีการตีความแบบใหม่ที่ต่างไปจากความเชื่อทางพุทธศาสนาแบบจารีตที่เป็นมา
ขณะที่ "นักฟุตบอลไทยเซเล็บ: สถานะทางสังคมแบบใหม่ของแรงงานกีฬากับความโหยหาวีรบุรุษของสังคมไทย" โดย อาจินต์ ทองอยู่คง ได้ยกประเด็นความเป็นแรงงานกีฬาในฐานะอาชีพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นสถานะใหม่ในสังคมของพวกเขาที่ได้กลายเป็นต้นแบบ หรือกระทั่งสินค้าที่สามารถถูกนำไปเสนอขายต่อได้ด้วยภาพลักษณ์แบบใหม่นี้
“การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในปฏิบัติการเรื่อง “วัน” ทั้งวันหยุดและวันสำคัญของรัฐไทย” โดย ชนาวุธ บริรักษ์ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับแรงงานโดยตรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันหยุดและวันสำคัญของรัฐนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยอ้อมกับเวลาว่างของแรงงานในหลายสาขาอาชีพ ปฏิบัติการของรัฐผ่านวันหยุดและวันสำคัญจึงส่งผลกระทบต่อแรงงานไปด้วย
ส่วน “การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลำปาง” โดย ผศ.ดร.วิพัฒน์ หมั่นการ เป็นบทความวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในระดับพื้นที่ด้านสุขภาพ
ปิดท้ายด้วย การปริทัศน์หนังสือ Descriptions of Old Siam โดย กำพล จัมปาพันธ์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหนังสือดังกล่าวที่ได้รวบรวมเอกสารต่างชาติที่กล่าวเกี่ยวกับสยามตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-20 ที่เน้นไปที่การถกเถียงเกี่ยวเอกสารของชาวยุโรปทั้ง ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการใช้เอกสารต่างชาติที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และไม่สามารถฝ่าด่านภาษายุโรปอื่นๆ
ฉบับหน้า วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เปลี่ยนแปลงกองบรรณาธิการและการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การวางระบบวารสารให้เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนเนื้อหาจะยังคงการประกาศธีมประจำฉบับเพื่อสร้างจุดร่วมกันของบทความในวารสารอยู่เช่นเดิม ประเด็นของฉบับต่อไปคือ "ว่าด้วยประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา พิธีกรรม" ไม่เพียงเท่านั้นวารสารยังประกาศธีมล่วงหน้าของฉบับ 6.1 และ 6.2 ในปี 2561 อันได้แก่ "การเมือง : การเลือกตั้ง" และ "ภาษา ความเชื่อ และพิธีกรรม" เพื่อการเตรียมพร้อมในการส่งต้นฉบับของผู้สนใจตีพิมพ์อีกด้วย หวังว่าพื้นที่แห่งนี้จะเป็นจุดนัดพบกันระหว่างผู้สนใจทางวิชาการที่เป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ที่มิได้เป็นเพียงหน้ากระดาษบรรจุตัวอักษรที่หลุดลอยออกจากสังคม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็คงเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง.
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ