ความต้องการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง / Personnel development needs of Mae Gua Sub-district Administrative Organization, Sobprap district, Lampang province

ทัดดาว ชาญประเสริฐ, ธนวิทย์ บุตรอุดม

Abstract


การศึกษาเรื่องความต้องการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ในองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) วิเคราะห์ด้านองค์กร 2) วิเคราะห์ด้านภารกิจและคุณสมบัติ 3) วิเคราะห์ด้านบุคคล
ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากจากกลุ่มเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะและผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ รวมจำนวน 16 คน เป็นการศึกษารูปแบบเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์ (Interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์กร องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะได้กำหนดให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ทรัพยากรขององค์กรที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเมือง
เศรษฐกิจ สังคม ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไป 2) การวิเคราะห์ด้านภารกิจและคุณสมบัติ พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะให้ความสำคัญกับภารกิจและคุณสมบัติของพนักงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดไว้ 3) การวิเคราะห์บุคคล พบว่าบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ มีความรู้ตามตำแหน่งหน้าที่ของตนเองเนื่องจากการปฏิบัติงานเป็นลักษณะงานประจำไม่มีความซับซ้อน การส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้ความสำคัญกับการส่งเข้ารับการฝึกอบรมเป็นหลัก ส่วนปัญหาอุปสรรคและแนวทางความต้องการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ ปัญหาที่พบคือ งบประมาณในการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีอยู่อย่างจำกัดเนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นเขตเกษตรกรรม แหล่งเศรษฐกิจมีจำนวนน้อยรายได้ในการจัดเก็บเองมีเพียงเล็กน้อยต้องพึ่งพารายได้จากงบประมาณจัดสรรจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การพัฒนาบุคลากรมีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเพียงด้านเดียวคือการเข้ารับการฝึกอบรม

The study titled “Personnel development needs of Mae Gua Sub-district Administrative Organization (MGSAO), Sobprap district, Lampang province” had the objectives to study the needsfor personnel development of MGSAO in 3 factors: 1) Organizational analysis 2) Task and qualifications analysis and 3) Personnel analysis.Data were collected from officers of MGSAO and specialists appointed by the MGSAO totaled 16 persons. The study was a qualitative research using interviews and documentary analysis.

The research findings revealed 1) The MGSAO organizational analysis specified the organizational personnel worked to improve the local area under limited resources using quality administration and could adapt to the changing situations of politics, economics and society. 2) The task and qualification analysis found the MGSAO gave importance to the task and qualifications of the staff according to the position standard specifications of the Department of Local Government. 3) Personnel analysis found the MGSAO personnel had knowledge according to the positions because their works were routine and not complex. The support for the personnel in the organization was by sending them to training mainly. Problems, barriers and guideline for the needs to develop the personnel of MGSAO: The problem found was limited budget for the organization because the area was agricultural with limited economical sources and very little from taxation. The organization existed on the allocated supporting budget from the Department of Local Government and for personnel development was by only one side, sending out to training.

 


Keywords


Personnel development needs, Personal development

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ