การศึกษาคำศัพท์พื้นฐานในภาษาบีซู : กรณีศึกษาคำศัพท์ทางภูมิศาสตร์ / The Study of Basic Vocabulary in Bisu: A Case study of geographical words

ฤทัย พานิช

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นวิเคราะห์มโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาบีซู จากคำศัพท์พื้นฐาน
ทางภูมิศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างภาษาไทยมาตรฐานกับภาษาบีซู จำนวน
74 หน่วยอรรถ ผลการศึกษาพบว่าศัพท์พื้นฐานทางภูมิศาสตร์ในภาษาบีซูมี
ความหมายตรงกับคำศัพท์ใน ภาษาไทยมาตรฐานจำนวน 50 หน่วยอรรถ โดย
มีบางหน่วยอรรถปรากฏใช้รูปคำศัพท์มากกว่า 1 คำ จึงกล่าวได้ว่าในภาษาบีซู
มีคำศัพท์ที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยมาตรฐาน จำนวน 65 หน่วยอรรถ
โดยคำศัพท์ที่พบใช้ในภาษาบีซูนี้ สามารถแบ่งอรรถลักษณ์ที่แสดงลักษณะ
ทางกายภาพและทางธรรมชาติ จากความถี่ที่พบมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่
ลักษณะทางภูมิประเทศ แหล่งนํ้า พื้นที่ใช้สอย สิ่งที่ปรากฏตามทางธรรมชาติ
สถานที่และสิ่งปลูกสร้าง ชาวบีซูมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะภูมิประเทศมาก
ที่สุดถึง 27.69 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การใช้คำศัพท์เรียกสถานที่และสิ่งปลูก
สร้างพบน้อยที่สุด คือ 9.23 เปอร์เซ็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวบีซูมีความสัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติมากจึงปรากฏการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากกว่า
สิ่งปลูกสร้าง

This research aimed at comparing the geographical words of
Bisu and Thai. The total number of words studied was 74 lexical items.
The analysis of the data reveals that 50 lexical items between Bisu
and Thai are synonyms, but there are more than one item of lexical
use in some Bisu. Both Bisu and Thai have the same 65 lexical items.
After grouping these lexical componential analyses, there are 5
categories; topography, water supply, usable area, natural items,
and land and property holding. In topography, Bisu has 27.69 percent
and 9.23 percent in property holding (real estate). It indicates that
Bisu relates to natural environment than building environment.

 


Keywords


Bisu, topography, basic vocabulary

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ