“ความคิดเรื่อง “ชาติ” และ “ความเป็นไทย” ของคนชายแดนในทศวรรษ 2480-2510 : ศึกษากรณีบุญช่วย ศรีสวัสดิ์” / “The Concepts of “The Nation” and “Thainess” in the Thought of Boonchuay Srisawat”

ทศพล ศรีนุช

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ ให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการนิยาม “ชาติ” และ “ความเป็นไทย” ที่ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะนักคิดหรือปัญญาชนท้องถิ่นจากเชียงรายอย่างบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ที่มีบทบาททั้งในเรื่องการเมืองและวัฒนธรรม ได้ถูกหล่อหลอมขึ้นมาในบรรยากาศของหลักสูตรการศึกษา และการกล่อมเกลาจากความมุ่งมั่นของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคณะรัฐบาลของคณะราษฎรที่มีความมุ่งหมายที่จะกล่อมเกลาประชาชนพลเมืองให้เกิดจิตสำนึกและอุดมการณ์ไปในแนวทางเดียวกับรัฐผ่านสื่อหลายชนิด ทำให้คนในเมืองชายแดนจำนวนมากได้รับอิทธิพลจากความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย”

ขณะเดียวกันภายใต้บริบทความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งของโลก ก็ได้ส่งผลต่อการรับรู้ความหมายของ“ชาติ” และ “ความเป็นไทย” ของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ อีกทางหนึ่ง การตัดสินใจผลิตงานเขียนของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ จึงไม่ได้เกิดจากความต้องการส่วนตัวเพียงเท่านั้นแต่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการความรู้ใหม่ๆ ของคนชั้นกลางในสังคมไทยที่กำลังประสบกับเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จึงเกิดความนิยมในการอ่านหนังสือหลายประเภทเพื่อแสวงหาความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและการปรับตัวในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความรู้ที่บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ สร้างขึ้นและตีพิมพ์เผยแพร่นี้ ไม่เพียงแต่จะเสนอความรู้ใหม่ที่คนชั้นกลางให้ความสนใจเท่านั้น ยังสะท้อนความหมายของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่ปัญญาชนและนักการเมืองจากเมืองชายแดนคนหนึ่งได้สื่อสารกับคนไทยทั่วประเทศในระหว่างทศวรรษ 2480-2510 อีกด้วย

This paper investigates the concepts of ‘the nation’ and
‘Thainess’ as these have had an affect on the thoughts of people in
the regions of Thailand, in particular on intellectuals such as Boonchuay
Srisawat, an important figure in the Thai political and cultural space.
Srisawat’s ideas were formed both under the absolute monarchy and
under democracy through the national curriculum, which had the
purpose of socializing citizens to a collective national ideology. State
policy and concepts around this were transmitted through a variety of
channels and through these, Thais in the regions received influent ideas
about ‘the nation” and “Thainess”.

At the same time, in the context of changes in the regions, which
were becoming integrated into national and international relationships,
Boonchuay Srisawat also changed his own interpretation of these
concepts. Srisawat’s work resulted not only from his own internal
motivations but also as a response to the demand of the Thai middle
classes for explanations of their place and role in a period of rapid
social, economic and cultural change and this, between the 1940s and
the 1970s, represented one way in which a non-metropolitan intellectual
and politician communicated ideas about ‘the nation’ and ‘Thainess’
to Thai citizens.

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ