การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นด้านการแปลสำนวนจีนเป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง “ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ” ฉบับแปลภาษาไทย
Abstract
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นด้านการแปลสำนวนจีนเป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง “ขุนเขาแห่งจิตวิญญาณ” ฉบับแปลภาษาไทย ผลการศึกษา พบลักษณะการก้าว “ไม่” ข้ามแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในเชิงสำนวนแปลขาดอรรถรสทางวรรณศิลป์ ซึ่งถือว่าความงามทางภาษาของความเป็นสำนวนสูญหาย ในขณะที่ความหมายของสำนวนถูกต้องเพียงบางส่วน ระดับที่ 2 การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในเชิงการถ่ายทอดความหมายของสำนวนผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ ซึ่งถือว่าความงามทางภาษาของความเป็นสำนวนสูญหายในขณะที่ความหมายของสำนวนผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ และระดับที่ 3 การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในเชิงการละโดยไม่แปล ซึ่งถือว่าไม่พบร่องรอยของสำนวนจีนโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ นอกจากชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความถูกต้องของความหมายแล้ว ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรักษาความเป็นเสน่ห์ของภาษานั้น ๆ อันเป็นรายละเอียดทางการใช้ภาษาที่ผู้แปลมักมองข้าม
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ