ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายค้ำประกันภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20 และฉบับที่ 21
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายลักษณะค้ำประกันก่อนมีการแก้ไขกฎหมายและภายหลังการแก้ไขกฎหมายและเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากหลักกฎหมายค้ำประกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 11 ก่อนที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2558 ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจงจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายรวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายค้ำประกันก่อนและหลังการแก้ไขกฎหมาย พบว่า การแก้ไขกฎหมายค้ำประกันทำให้ผู้ค้ำประกันได้รับการคุ้มครองสิทธิและได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการแก้ไขรายละเอียดที่ต้องระบุในสัญญาค้ำประกันให้ชัดเจนขึ้น มีการกำหนดให้ข้อตกลงหลาย ๆ ประการที่ทำให้ผู้ค้ำประกันเสียเปรียบตกเป็นโมฆะ มีการกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันทราบภายใน 60 วันนับแต่ลูกหนี้ผิดนัด แต่จากการศึกษาถึงผลกระทบภายหลังการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จวบจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผู้ค้ำประกัน เจ้าหนี้โดยเฉพาะที่เป็นสถาบันการเงินและภาคธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินเพื่อนำมาลงทุนในธุรกิจ โดยปัญหาหรือผลกระทบดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายจนนำไปสู่การตีความกฎหมายที่แตกต่างกันในทางปฏิบัติ รวมถึงหลักกฎหมายบางเรื่องก่อให้เกิดอุปสรรคต่อภาคธุรกิจ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากยิ่งขึ้นและเพื่อให้กฎหมายค้ำประกันบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ