การศึกษานิติศาสตร์ในประเทศไทย: ข้อท้าทาย และโอกาสในศตวรรษที่ 21

จาตุรนต์ วรรณนวล, พฤกษา เครือแสง, อาระดา พุ่มไพศาลชัย, มณีรัตน์ จันทร์หนิ้ว, เกียรติสุดา โสดามรรค, ฐาปนี ชุมพลวงศ์, อัคจร บุปผาจำเริญ, ประภาพร แสงบุญเรือง

Abstract



          บทความเรื่อง “การศึกษานิติศาสตร์ในประเทศไทย: ข้อท้าทาย และโอกาสในศตวรรษที่ 21” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนกฎหมายขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ในบทความยังได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อการศึกษานิติศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 และได้เน้นถึงข้อท้าทายและประเด็นที่เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีพลิกผัน (Disruptive Technology)” อันเกิดจากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับวิธีการสอน และการจัดให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติของนิสิตนักศึกษาในการศึกษานิติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังพบว่าการนำดิจิทัลมาใช้ในระบบการศึกษานิติศาสตร์ กล่าวคือ เทคโนโลยีทางนวัตกรรมที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อาทิ ChatGPT ได้ส่งผลให้เกิดวิธีการใหม่และกระบวนวิธีในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนิสิตนักศึกษา ดังนั้น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้ก่อให้เกิดโอกาสสำหรับการฟื้นฟูและปรับปรุงการศึกษานิติศาสตร์ให้ทันต่อยุคสมัย ในบทความได้สรุปว่า การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษานิติศาสตร์ ถือเป็นกรณีที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องเพราะยุคเทคโนโลยีในทางกฎหมาย (Legal Technology หรือ Legal Tech) ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของนักกฎหมายรุ่นใหม่ การศึกษานิติศาสตร์ด้วยเทคโนโลยี จึงควรที่จักเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยในลักษณะของการปลูกฝังการเป็นนักกฎหมายรุ่นเยาว์ โดยการใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อความก้าวหน้าในชีวิตของการเป็นนิสิตนักศึกษา กรณีถือเป็นการเตรียมการให้กับนิสิตนักศึกษากฎหมายสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังกล่าว เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์และทักษะในการติดต่อสื่อสารของนิสิตนักศึกษาต่อไป

Keywords


การศึกษานิติศาสตร์; เทคโนโลยี; ปัญญาประดิษฐ์; ChatGPT

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ