กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาดของผู้ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและฟื้นฟูวิธีภูมิปัญญารวมทั้งวิธีเกษตรอินทรีย์ และพัฒนากลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพการตลาดข้าวอินทรีย์ของผู้ปลูกและแปรรูปในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงบริบทเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภค ผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ และผู้แปรรูป จากการสุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวัดทัศนคติตามมาตรวัดแบบลิเคิร์ท สรุปผลและนำไปใช้ตั้งคำถามหาเหตุผลในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการบริโภค การตลาด การปลูกและการแปรรูปข้าวอินทรีย์ รวมถึงการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการอภิปรายกลุ่มของผู้ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์จำนวน 50 ราย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติเกี่ยวกับการรื้อฟื้นประเพณีและวัฒนธรรมการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมควรมีชุมชนและหน่วยงานราชการเข้ามามีส่วนร่วม ในระดับมาก (X bar = 3.57) การรื้อฟื้นประเพณีทำขวัญข้าวอินทรีย์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวอินทรีย์เพื่อสนับสนุนสินค้าในชุมชน ในระดับปานกลาง (X bar = 3.27) การรื้อฟื้นประเพณีทำขวัญข้าวอินทรีย์มีผลดีต่อคุณภาพดินและน้ำในชุมชน ในระดับมาก (X bar = 3.72) การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอหรือกระเหรี่ยงเป็นกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ปลูกและจำหน่ายข้าวอินทรีย์ มีวิถีชีวิตที่ยึดมั่นกับการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ พันธุ์ข้าวที่ปลูกมากที่สุดคือข้าวบือโปะโละ เดิมปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค ปัจจุบันมีปริมาณเหลือพอต่อการแปรรูปและจำหน่าย ผู้ผลิตและแปรรูปข้าว มีพัฒนาการทั้งการสร้างแบรนด์ การตั้งราคาตามคู่แข่ง รูปแบบบรรจุภัณฑ์ ความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ มีการตรวจสอบและได้การรับรองมาตรฐานการผลิตจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนและมาตรฐานโอทอประดับห้าดาวช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับการตลาดปัจจุบันคือเพิ่มการรับรู้ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและใช้การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางตลาดแก่ข้าวอินทรีย์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ