การเป็น “หญิงหม้าย” กับ ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมและ โครงสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Being ‘Widow’: Cultural and Structural Violence in the 3 Southern Border Provinces

มนวัธน์ พรหมรัตน์, ทวีลักษณ์ พลราชม, อัมพร หมาดเด็น

Abstract


ัญหาความรุนแรงและความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มาจนถึงปัจจุบัน ทำาให้ผู้หญิงมุสลิมจำานวน
หนึ่งต้องสูญเสียสามีจากเหตุการณ์ดังกล่าวและต้องดำาเนินชีวิตด้วยการพึ่งพา
ตนเอง ซึ่งคนในสังคมมลายูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกว่า “แม่หม้าย”
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะของ “หญิงหม้าย” ในสังคมมลายู
และศึกษาลักษณะของความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่กำาหนดด้วยเงื่อนไขทาง
สังคมและวัฒนธรรมมลายู รวมถึงความรุนแรงเชิงโครงอันสร้างเนื่องมาจาก
กลไกเชิงระบบของรัฐผ่านองค์กรทางศาสนาอิสลามที่นำาโดยกลุ่มผู้รู้ทาง
ศาสนาที่เป็นผู้ชาย ด้วยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและ
การสนทนากลุ่ม กับกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้หญิงที่สูญเสียสามีจากเหตุการณ์ความ
ไม่สงบ กลุ่มผู้หญิงที่ทำางานในองค์กรหรือเครือข่ายเกี่ยวกับผู้หญิงในพื้นที่ กลุ่ม
นักการศาสนา กลุ่มเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพ ผลการศึกษาพบว่าสถานะของ
ผู้หญิงในสังคมมลายูถูกให้คุณค่าผูกโยงกับการเป็นภรรยาของสามี โลกทัศน์
ดังกล่าวเป็นรากฐานของความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ เนื่องจากคุณค่า
ของหญิงหม้ายถูกลดทอนลงเมื่อไม่มีผู้ชายเป็นผู้นำาในครอบครัวกลายเป็นคน
อ่อนแอที่ต้องถูกสอดส่องดูแลจากชุมชน แม้การแต่งงานใหม่จะเป็นการคืนคุณค่าของความเป็นผู้หญิงของตนให้สมบูรณ์อีกครั้งด้วยการมีผู้ชายคอยชี้นำา
และเป็นผู้ปกป้องดูแล อย่างไรก็ตามเนื่องจากหญิงหม้ายมักแต่งงานใหม่เป็น
ภรรยาคนที่สองทำาให้ต้องประสบกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมอีกครั้งจากการ
ให้คุณค่าของภรรยาคนแรกและคนต่อมาไม่เท่ากัน การให้คุณค่าดังกล่าวในบาง
ครั้งกลายเป็นช่องทางที่นำาไปสู่การใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพหรือการแสวงหา
ผลประโยชน์จากหญิงหม้ายเหล่านี้ การใช้กลไกเชิงระบบของรัฐผ่านการจัดตั้ง
องค์กรบริหารศาสนาอิสลามจึงกลายเป็นช่องทางที่หญิงหม้ายใช้เพื่อจัดการกับ
ปัญหาที่เกิดจากความรุนแรงทางวัฒนธรรม เช่น การฟ้องหย่า การฟ้องร้องข้อ
พิพาทต่างๆ อย่างไรก็ตามกลไกเชิงระบบดังกล่าวที่ทำางานผ่านการไกล่เกลี่ยข้อ
พิพาทของคณะกรรมการกลางอิสลามประจำาจังหวัด กลับเป็นพื้นที่ซึ่งให้อำานาจ
ผู้ชายเป็นผู้นำาในฐานะผู้รู้ทางศาสนา และไม่เปิดพื้นที่ให้แก่ผู้หญิงได้เข้าไปอยู่ใน
กระบวนการวินิจฉัยหรือตีความ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของหญิงหม้ายจึงมักไม่
ละเอียดอ่อนต่อการเข้าถึงความรู้สึกของผู้หญิงและขาดการมุ่งมองบริบทที่แวดล้อม
หญิงหม้ายเหล่านั้น หญิงหม้ายจึงกลายเป็นผู้ที่ถูกความรุนแรงเชิงโครงสร้างผ่าน
กลไกเชิงระบบของรัฐในรูปของการบริหารองค์กรอิสลามเข้าซ้อนทับกับความ
รุนแรงของการเป็นหญิงหม้ายในเชิงวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับบริบทของสังคม
มลายูอีกต่อหนึ่ง

The problems of violence and unrest in the three southern border provinces of Thailand since 2004 affected the women
who lost their husband and had to rely on themselves and were
regarded as ‘widow’. This article attempted to study the status of
‘widow’ in Melayu society and to examine the cultural violence
caused by Melayu culture and society and the structural violence
affected from the mechanism of Islamic organizations under the
male religious scholars. The data collecting method of this study
was combined between a semi-structured interview and in-depth
group discussion among 4 target groups; the widows who lost their
husband from the unrest situation, the women who worked in the
organization dealt with the women in the southern provinces area,
the personnel in multidisciplinary professional network, and the
religious scholars. The study found that the worldview of the Melayu society in the three southern border provinces devalued the
status of the woman by regarding her as a wife of the man. Thus,
the widow who was not a wife of anyone was forced to marry with
the other man to regain her status. Remarriage of these widows
led many problems because most of them became the second
wife of the man who were treated unfairly and sometime werethreaten by her husband. The mechanism of Islamic organization
under system of the provincial Islamic committee always excluded
the role of woman because there was no seat for the women in
the committee and the leading role was preserved only for male
religious scholars. So, the problem of being widow or the conflicts
between remarried women and their husband was lessened its
importance in the conflict resolution process through the worldview
of the men. This situation is one of the causes of the structural
violence for the widow in three southern border provinces.






Full Text:

PDF

References


บรรณานุกรม

นากามูระ ฮิซาโกะ และคณะ. (2544). ค่านิยมทางสังคม-ศาสนาของสตรีมุสลิมในภาคใต้

ของไทย: กรณีศึกษาคนในงานในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปตตานี. ปัตตานี:

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สำานักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. พระราชบัญญัติการบริหารองค์กร

อิสลาม พ.ศ. 2540. เข้าถึงได้จาก www.cicot.or.th/2011/main/content.

php?page=news&category=11&id=12 (1 กรกฎาคม 2558)

สุชาติ เศรษฐมาลินี และ วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ (บรรณาธิการ). คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่.

กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร หมาดเด็น. (2551). “ผู้หญิงมุสลิมในสถานการณ์ความรุนแรงและความหวังแห่งสันติภาพ”.

จุดยืน. 2 (พฤศจิกายน)

Chavivan Prachuabmoh. (1980). The Role of Woman in Maintaining Ethnic

Identity and Boundaries: A Case of Thai-Muslims (the Malay

Speaking Group) in Southern Thailand. Ph.D. Dissertation.,

University of Hawaii

บุคลานุกรม

สัมภาษณ์ ก๊ะเซาะ (นามสมมติ) ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงและ

อาสาสมัครโครงการวานีตา, 24 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะนะ (นามสมมติ) แกนนำากลุ่มผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบ, 21 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะนา (นามสมมติ) ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและ

ผู้ทำางานในเครือข่ายภาคประชาสังคม จังหวัดนราธิวาส, 24 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะนี (นามสมมติ) แกนนำาเครือข่ายผู้หญิงของโครงการ จังหวัดนราธิวาส,

พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะเยาะ (นามสมมติ) แกนนำาเครือข่ายผู้หญิงของโครงการ ระดับอำาเภอ

จังหวัดนราธิวาส, 24 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะเราะ (นามสมมติ) ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง

จังหวัดนราธิวาส, 22 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะละ (นามสมมติ) แกนนำาเครือข่ายผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

ความรุนแรง จังหวัดยะลา, 27 ต.ค. 2557

สัมภาษณ์ ก๊ะลา (นามสมมติ) ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

จังหวัดนราธิวาส, 24 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่โครงการวานีตาประจำาศูนย์จังหวัดยะลา, 21 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

จังหวัดยะลา, 21 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สำานักงานคณะกรรมการอิสลามประจำา

จังหวัดนราธิวาส 21 พ.ย.57

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ส่วนเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ จังหวัดนราธิวาส,

พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ นักการศาสนา, 21 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ประธานเครือข่ายผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

จังหวัดปัตตานี, 25 พ.ย. 2557

สัมภาษณ์ ผู้ประสานงานโครงการวานีตา จังหวัดปัตตานี, 25 ต.ค. 2557


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ