การวิเคราะห์การใช้ภาษาและภาพสะท้อนทางสังคมปัญหาของเยาวชนในนวนิยายเรื่องกว่าจะรู้เดียงสา

สุกัญญา ขลิบเงิน

Abstract



          การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์การใช้ภาษาและภาพสะท้อนทางสังคมปัญหาของเยาวชนในนวนิยายเรื่อง กว่าจะรู้เดียงสา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ภาษา ภาพสะท้อนปัญหาของเยาวชน และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาของเยาวชนในนวนิยายกว่าจะรู้เดียงสา ผู้วิจัยใช้ผลงานการเขียนของโบตั๋นเรื่องกว่าจะรู้เดียงสา โดยทำการวิเคราะห์ตัวบทนวนิยาย มีตัวละครที่สะท้อนพฤติกรรมของเยาวชน นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์
          ผลการศึกษาพบว่า การใช้ภาษาในนวนิยายกว่าจะรู้เดียงสา ซึ่งได้วิเคราะห์มีทั้งสิ้น 11 ประเด็น ได้แก่ คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำสแลง คำภาษาตลาด คำต่ำหรือคำหยาบ คำภาษาต่างประเทศ คำย่อ คำเลียนเสียงพูด คำอุปมา คำอุปลักษณ์ การใช้สำนวน การใช้สัญลักษณ์ และการใช้ภาษาที่สะท้อนความไร้เดียงสาของเยาวชนในนวนิยายกว่าจะรู้เดียงสา วิเคราะห์ได้ 3 ประเด็น ได้แก่ การใช้ภาษาแสดงความคาดคะเน การใช้ภาษาที่แสดงเงื่อนไข และการใช้ภาษาที่แสดงความคิดเห็น ผลการวิเคราะห์ภาพสะท้อนปัญหาของเยาวชนในนวนิยายกว่าจะรู้เดียงสา วิเคราะห์ได้ 2 ประเด็น ได้แก่ 1. สะท้อนปัญหาของเยาวชนที่มาจากครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ครอบครัวขาดความเข้าใจลูก ครอบครัวขาดการให้คำปรึกษา ครอบครัวควบคุมลูกทุกอย่าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และ 2. สะท้อนปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวเยาวชน ได้แก่ เยาวชนมีพฤติกรรมดื้อรั้น เยาวชนไม่รับผิดชอบการเรียน เยาวชนท้องในวัยเรียน เยาวชนติดยาเสพติด เยาวชนขาดความรู้ถูกหลอกเชื่อคนง่าย และผลการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาของเยาวชนในนวนิยายกว่าจะรู้เดียงสา มีทั้งหมด 2 ประเด็น ได้แก่ 1. แนวทางแก้ปัญหาของเยาวชนที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ เยาวชนหนีออกจากบ้าน เยาวชนลักขโมย เยาวชนขายบริการทางเพศ และ 2. แนวทางแก้ปัญหาของครอบครัวที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ เข้มงวดกับลูกด้วยการกักขัง ปกป้องลูกมากเกินไป วางแผนชีวิตขีดเส้นทางให้ลูกเดิน

Keywords


การใช้ภาษา; ภาพสะท้อน; ปัญหาของเยาวชน; นวนิยายเรื่องกว่าจะรู้เดียงสา

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ