“ส้มสีม่วง” ของ ขวัญใจ เอมใจ วรรณกรรมรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด: วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ

ณรงค์ศักดิ์ เทพมา, หู ชิวโป, ธนพร หมูคำ

Abstract



          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ประจำปี 2544 ของ ขวัญใจ เอมใจ เรื่อง ส้มสีม่วง ใช้แนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ (Ecocriticism) ของ กล็อตเฟลตี้ (Cheryll Glottfelty) แนวคิดภาพแทน (Representation) ของสจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) และแนวคิดเรื่องเล่า (Narrative) ของ วลาดิมีร์ พรอพพ์ (Vladimir Propp) และ เอ.เจ.เกรมาส (A.J. Greimas) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศที่ปรากฏใน “ส้มสีม่วง”
          ผลการวิจัยพบว่า “ส้มสีม่วง” ปรากฏความสัมพันธ์ตามแนวคิดวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศระหว่างมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 ประเด็น คือ 1) นำเสนอภาพแทนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่เกื้อกูล พึ่งพาซึ่งอาศัยกันและกัน โดยมนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด และการมองว่าธรรมชาติเป็นความชั่วร้ายและศัตรู การใช้กลวิธีทางภาษาสร้างปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของตัวละครผ่านเหตุการณ์ เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมด้านบวกและด้านลบของมนุษย์ที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) แนวคิดด้านความเป็นอื่นและกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละคร โดยกำหนดให้ผู้มีอำนาจสร้างข้อบังคบให้สังคมปฏิบัติตามกระแสหลักและเพื่อให้เกิดการยอมรับในทิศทางเดียวกัน และ 3) สร้างตัวละครแบบคู่ตรงข้าม เพื่อให้เกิดการรับรู้ลักษณะนิสัยด้านลบของมนุษย์ที่เป็นคู่ตรงกันข้ามกับตัวละครดี และเพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เราอาจมองธรรมชาติทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

Keywords


รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด; วรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ; ส้มสีม่วง

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ