อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมบ้านชมพูเหนือ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลกกับการประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมบ้านชมพูเหนือ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และเพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมกับการประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ใช้วิธีการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม
ผลการศึกษาพบอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมบ้านชมพูเหนือ 5 ด้าน ได้แก่ ผ้าทอ เครื่องจักสาน อาหารพื้นบ้าน ประเพณี-การละเล่น และเรื่องเล่า ตำนาน วรรณกรรมพื้นบ้าน ส่วนผลการสังเคราะห์อัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมกับการประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้ง 5 ด้าน สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมอัตลักษณ์ที่ 1 ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) ผ้าทอโบราณ คือ ผ้าซุ้ม และ 2) ผ้าทอประยุกต์ คือ ลายหญ้าปล้อง ลายศิลาวารีรพีภัทร อัตลักษณ์ที่ 2 ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือกสิกรรม ได้แก่ ฝักมีด (แปมหวาย), สุ่มไก่ 2) เครื่องมือจับปลา ได้แก่ สุ่มปลา/ สุ่มกบ, ไซ, ลอบ 3) เครื่องใช้ภายในบ้าน ได้แก่ กะบ๋าย, กะโซะเล็ก/ กะโซะใหญ่, กระจาด/ ตะแกง, กระด้ง, กระบุง, ชะลอม อัตลักษณ์ที่ 3 ผลิตภัณฑ์อาหาร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) อาหารคาว คือ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ 2) อาหารหวาน คือ ขนมลิ้นหมา อัตลักษณ์ที่ 4 แหล่งท่องเที่ยวทางประเพณี-การละเล่น ได้แก่ พิธีกรรมการขอฝนจากการละเล่นนางด้ง และอัตลักษณ์ที่ 5 เรื่องเล่า ตำนาน 5 เรื่อง วรรณกรรมเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงฉ่อย ทั้งหมดนี้ถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ