การก้าว "ไม่" ข้ามความเป็นอื่นด้านการแปลสำนวนจีนเป็นภาษาไทยในบทบรรยายใต้ภาพซีรีส์จีนเรื่อง "ถักทอรักที่ปลายฝัน"

วิสิฐศักดิ์ ผิวผ่อง, บุรินทร์ ศรีสมถวิล

Abstract



          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นด้านการแปลสำนวนจีนเป็นภาษาไทยในบทบรรยายใต้ภาพซีรีส์เรื่อง “ถักทอรักที่ปลายฝัน” ผลการศึกษาพบว่าผู้แปลก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นด้านการแปลสำนวน 3 รูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับต่ำ: การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในลักษณะเชิงความงามทางภาษาไม่เท่าเทียมกับต้นฉบับภาษาจีน ทำให้ผู้ชมชาวไทยไม่สามารถรับรู้ถึงความงามของสำนวนจีนได้ 2) ระดับกลาง: การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในลักษณะเชิงการแปลความหมายคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับภาษาจีน 2 ลักษณะ คือการแปลความผิดไปจากสำนวนจีน และการแปลความเกินจากความหมายของสำนวนจีน ใช้สำนวนภาษาแปลธรรมดา ทำให้ผู้ชมชาวไทยไม่สามารถรับรู้ถึงความงามของสำนวนจีนและเจตนา หรือสารที่สอดแทรกไว้คลาดเคลื่อน และ 3) ระดับสูง: การก้าว “ไม่” ข้ามความเป็นอื่นในลักษณะเชิงการละไม่แปลสำนวนจีน ทำให้สำนวนจีนหายไปจากบริบทไทยโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่า อาจอนุมานได้ว่าเหตุที่ผู้แปลไม่สามารถก้าวข้ามการแปลดังกล่าวได้นั้น เนื่องจากผู้แปลไม่ได้ศึกษากลวิธีการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์บทซีรีส์อย่างละเอียด หรือไม่ได้ศึกษาตัวบทต้นฉบับโดยถ่องแท้ พร้อมด้วยผู้แปลอาจยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนจีนในมิติการสะท้อนถึงวัฒนธรรมจีนและขาดความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย หรือผู้แปลอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นสำนวนของภาษาต้นทางมากพอ

Keywords


การก้าว “ไม่” ข้าม; การแปลภาษาจีน - ไทย; การแปลบทบรรยายใต้ภาพ; ถักทอรักที่ปลายฝัน, สำนวนจีน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ