การดำรงอยู่ของกว่างชนผ่านการประกอบสร้างภาพตัวแทนภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือของไทย
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอให้เห็นว่าวัฒนธรรมการชนกว่างสามารถดำรงอยู่ผ่านการประกอบสร้างภาพตัวแทนภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือได้อย่างไร โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ จากข้อมูลการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการชนกว่างในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
ผลการศึกษาพบว่า การละเล่นชนกว่างในสังคมภาคเหนือที่ผ่านมาได้รับผลกระทบและถูกลดทอนความสำคัญลง จากเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความทันสมัยและการพัฒนาท่องเที่ยวกระแสหลักที่เริ่มปรากฏในช่วงปลายทศวรรษ 2480 แต่เมื่อเข้าสู่ในช่วงทศวรรษที่ 2530 กลับพบว่า 1) กระแสของการโหยหาอดีตจากท้องถิ่น และ 2) รูปแบบของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปได้มีส่วนทำให้การเล่นชนกว่างกลับมาเป็นที่นิยมของผู้คนหลากหลายวัยทางภาคเหนือในฐานะภาพตัวแทนของ 1) การละเล่นพื้นบ้านท้องถิ่นที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาที่ควรอนุรักษ์ 2) สัญลักษณ์ตัวแทนความเป็นนักสู้ของล้านนา 3) แมลงเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้และนำการท่องเที่ยวเข้ามาในท้องถิ่น และจากความนิยมในการละเล่นชนกว่างในปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการหาแนวทางในการส่งเสริมการละเล่นชนกว่างให้สามารถดำรงอยู่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผ่านการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็น 1) การผลักดันให้การละเล่นชนกว่างกลายเป็นประเพณีสำคัญในท้องถิ่นภาคเหนือ โดยการจัดงานเทศกาลกว่างชนขึ้นทุกปี ในแต่ละจังหวัดทางภาคเหนือโดยการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ 2) การจัดกิจกรรมชนกว่างสัญจรของกลุ่มคนที่ชื่นชอบกว่างชนในแต่ละจังหวัด และ 3) การเผยแพร่ความรู้เรื่องกว่างชน แนวทางการอนุรักษ์ และการส่งเสริมเพาะเลี้ยงกว่างเป็นอาชีพ เป็นต้น จากการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของวิธีคิด ในการสร้างการสื่อความหมายและพลวัตของประเพณีที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ซึ่งสามารถถูกต่อรอง ช่วงชิงและปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของความสัมพันธ์ที่หลากหลายได้ตลอดเวลา
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ