แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

วรวุฒิ เพ็งพันธ์, เสาวคนธ์ วงศ์ศุภชัยนิมิต, ณัฐฉณ ฟูเต็มวงศ์

Abstract



          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การจัดกลุ่มชื่อวัดของศาสนาพุทธในฐานะแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ของประเทศไทย และ 2. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ของประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ศึกษาคือวัดของศาสนาพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ของประเทศไทย จำนวน 58 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง และสำรวจพื้นที่ที่ศึกษา และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลเป็นค่าร้อยละ และการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกลุ่มชื่อวัดของศาสนาพุทธในฐานะแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พบว่า การศึกษาวิเคราะห์ภูมินาม แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มคือ 1.1) ตั้งตามสภาพแวดล้อมบริเวณวัด หรือสิ่งที่มีอยู่ในวัด ได้แก่ พืช ต้นไม้ ที่ดอน/เขา อายุเก่า/ใหม่ แหล่งน้ำหนอง/คุ้ง สวน นา ป่า ทุ่ง ขนาดใหญ่/เล็ก/น้อย จำนวน 27 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46.55 1.2) ตั้งตามตำแหน่งหรือชื่อตำบลที่วัดนั้นตั้งอยู่ ได้แก่ ชื่อหมู่บ้าน ตำบล สถานที่ (ด้านนอก ด้านใน ด้านกลาง) จำนวน 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 22.41 1.3) ตั้งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำนวน 11 แห่งคิดเป็นร้อยละ 18.97 1.4) ตั้งตามชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสร้างวัด จำนวน 4 คิดเป็นร้อยละ 6.90 1.5) ไม่พบประวัติ หรือที่มาในการตั้งชื่อ จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.17 ตามลำดับ 2. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า มีแนวทางการจัดกิจกรรม ได้ดังนี้ 2.1) กิจกรรมแนะแนว ได้แก่ การเล่าเรื่องการดำเนินชีวิตของตนเองที่มีความสัมพันธ์กับวัดที่ใกล้ที่อยู่อาศัย การวาดภาพโดยดูจากชื่อวัดที่อยู่ในชุมชน และนำเสนอภาพตามจินตนาการ และการทัศนศึกษาตามชื่อวัดที่ตนเองชื่นชอบ และจดบันทึกเรื่องราวการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะสุนทรียบุคคล 2.2) กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ การแกะรอยตามหาบุคคลสำคัญตามชื่อวัด โดยใช้ในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ เพื่อค้นหาลักษณะผู้นำที่สำคัญของชุมชน การเล่นเกมเพื่อการเรียนรู้ในกิจกรรมชุมนุม โดยการแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนออกแบบเกม เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ จากชื่อวัด การจัดนิทรรศการภาพถ่ายเพื่อการเรียนรู้ในกิจกรรมของชมรมถ่ายภาพ และ 2.3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ได้แก่ การวิเคราะห์ชื่อวัดที่เป็นมงคลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน การเรียนรู้ชีวิตด้วยการร่วมทำกิจกรรมในวิถีของวัดกับชุมชนโดยการทำกิจกรรมจิตอาสา และการสร้างเพจประชาสัมพันธ์ความรู้และเชิญชวนผู้อื่นร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนสื่อสังคมออนไลน์


Keywords


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน; ภูมิปัญญาท้องถิ่น; วัดไทย; อำเภอเมืองชลบุรี

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ