การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำหลักสูตรอบรมภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ภาษาจีนด้านคำศัพท์และประโยคของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ชั้นปีที่ 4-6 โรงเรียนเทศบาลจามเทวี จังหวัดลำพูน (สังกัดเทศบาลเมืองลำพูน) จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรอบรมภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน 3) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (T-Test for Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมภาษาจีน จัดทำขึ้นโดยใช้เทศกาลแขวนโคมแสนดวงของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ มีผลการประเมินค่าความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับ “เหมาะสมมาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 2) ผลสัมฤทธิ์ความรู้ภาษาจีนด้านคำศัพท์และประโยคของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ความรู้ภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 3) ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูนเป็นฐานการเรียนรู้ อยู่ในระดับ “พึงพอใจมาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ