กลไกขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของจังหวัดลำปาง

ปิยรัตน์ วงศ์จุมมะลิ, วิไลลักษณ์ พรมเสน, ปริเยศ สิทธิสรวง, นงลักษณ์ อานี, นราศักดิ์ ปิยาเนตร

Abstract


          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลไกขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของจังหวัดลำปางตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)  คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) แบบเจาะจงจำนวน 30 คน ใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ (interview form) ที่มีโครงสร้างชนิดปลายเปิด (structure in-depth interview) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (documentary study) การสัมภาษณ์ (interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารเนื้อหา (content analysis) และการวิเคราะห์แบบอุปนัย (analytic induction)
          ผลการศึกษาพบว่า กลไกของ 3 ภาคส่วนคือ รัฐ เอกชน และประชาสังคมมีผลต่อการขับเคลื่อน การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของจังหวัดลำปาง โดยกลไกของภาครัฐประกอบด้วย (1) กลไกการส่งเสริม  (2) กลไกการสนับสนุน (3) กลไกการพัฒนา (4) กลไกการประสานงาน (5) กลไกที่ปรึกษา และ (6) กลไกผู้ดำเนินงาน ส่วนภาคเอกชน ประกอบด้วย (1) กลไกสนับสนุนงบประมาณ (2) กลไกพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (3) กลไกจัดทำช่องทางการตลาด (4) กลไกจัดทำป้ายสื่อความหมาย (5) กลไกจัดทำเพจท่องเที่ยวชุมชน และ (6) กลไกจัดฝึกอบรมให้ความรู้โฮมสเตย์แก่ชุมชนท่องเที่ยว และภาคประชาสังคม ประกอบด้วย (1) กลไกประสานการบูรณาการทำงานด้านการท่องเที่ยวร่วมกับทุกภาคส่วน (2) กลไกแสวงหาแหล่งทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และ (3) กลไกพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา ทั้งนี้ทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับเงื่อนไขคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของคนในชุมชนที่ปราศจากความขัดแย้ง ไม่มีเรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นภายในชุมชน เน้นให้การท่องเที่ยวชุมชนเกิดประโยชน์ คงไว้ซึ่งความรักสามัคคี และความผูกพันของคนในชุมชนไปจนถึงคนรุ่นอนาคต


Keywords


กลไกการขับเคลื่อน, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การเติบโตทางเศรษฐกิจ, หลักปรัชญเศรษฐกิจพอเพียง

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ