ความเป็นอาณานิคมจากส่วนกลางในงานของ สงวน โชติสุขรัตน์

ธนพร หมูคำ, ทัตพิชา สกุลสืบ

Abstract


          บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์งานของ สงวน โชติสุขรัตน์ ในชุดประวัติศาสตร์ล้านนา จำนวน 4 เล่ม ที่ตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ศรีปัญญา ได้แก่ คนดีเมืองเหนือ (2552) ประเพณีไทยภาคเหนือ (2553) ตำนานเมืองเหนือ (2554) และประชุมตำนานล้านนาไทย (2555) โดยอธิบายผ่านแนวคิดอาณานิคม (Colonialism) ของ เอดเวิร์ด ซาอิด (Edward Said) แนวคิดภาพแทน (Representation) ของ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) แนวคิดอุดมการณ์ (Ideology) ของ หลุยส์ อัลตูแซร์ (Louis Althusser) และแนวคิดวาทกรรม (Discourse) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description)

          ผลการศึกษาพบว่า สงวน โชติสุขรัตน์ นำเสนองานชุดนี้ผ่านอุดมการณ์สำนึกรักท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดอาณานิคม 3 ลักษณะ คือ ความเป็นอาณานิคมจากส่วนกลางโดยไม่รู้ตัว การผลิตซ้ำวาทกรรมความเป็นไทยผ่านการประกอบสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นตามขนบส่วนกลาง การเขียนชีวประวัติบุคคลสำคัญในท้องถิ่นตามต้นแบบส่วนกลาง ความเป็นอาณานิคมถูกประกอบสร้างผ่านบุคคลสำคัญจากส่วนกลางให้มีบทบาทในงานเขียน เลือกใช้ต้นแบบงานเขียนจากส่วนกลางทั้งโครงสร้าง การใช้คำ และสำนวนภาษา ตอบสนองวาทกรรมความเป็นไทยตามกระแสหลัก โดยเชื่อมโยงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นกระแสรอง เพื่อให้อยู่ภายใต้อาณานิคมของส่วนกลาง ขณะเดียวกันได้โต้กลับส่วนกลางโดยนำเสนอภาพแทนท้องถิ่นว่า มีความเสมอภาคในหน้าประวัติศาสตร์กระแสหลักผ่านการผลิตซ้ำวาทกรรมความเป็นไทย

Keywords


ความเป็นอาณานิคมจากส่วนกลาง, วรรณกรรมท้องถิ่น, สงวน โชติสุขรัตน์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ