กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบ: กรณีศึกษา กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย

หาญศักดิ์ พวงจักรทา, นาวิน พรมใจสา, วิกรม บุญนุ่น

Abstract


          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยแบบผสมที่ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม ปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับรถแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย สภาพปัญหาที่พบมากที่สุดในกลุ่มของคนขับแท็กซี่ คือ ด้านการดำรงชีวิตของคนขับรถแท็กซี่พบว่า การบริโภคอาหารไม่ครบ 3 มื้อ ใช้ชีวิตไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงมีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงปลอดภัย ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ได้รับค่าตอบแทนไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นคนขับรถแท็กซี่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว ชุมชน และด้านความเจริญก้าวหน้าและมั่งคงในอาชีพพบว่า คนขับรถแท็กซี่ไม่ได้รับความมั่นคงในอาชีพ และการช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาล นอกจากนี้การสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย จากการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่า ผลการประเมินกำหนดค่าเฉลี่ยสภาวะแวดล้อมศักยภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย ค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ระหว่างจุดอ่อน กับ โอกาส แสดงให้เห็นว่าสภาวะแวดล้อมหรือสถานการณ์ของศักยภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของคนขับแท็กซี่ในจังหวัดเชียงราย ในขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ สงสัยยังมีคำถาม (จุดอ่อน - โอกาส) จากผลการวิจัยอธิบายได้ว่าสถานการณ์ของคนขับแท็กซี่มีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนหลายอย่างเช่นกัน ดังนั้นทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว เพื่อจัดการหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะสามารถฉกฉวยโอกาสที่จะเข้ามาได้

Keywords


แรงงานนอกระบบ, กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตการทำงาน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ