ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ของการเรียกชื่อเมืองเขลางค์ เวียงละกอน และลำปาง / Historiography of Naming “Lampang” through Historical Documents

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

Abstract


บทความนี้ทำการศึกษาการเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเรียกชื่อเมืองที่เป็นศูนย์กลางของลำปางตั้งแต่ในอดีต เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการใช้ชื่อที่หลากหลาย อันสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น ศิลาจารึก คัมภีร์ทางศาสนา ตำนานต่างๆ แผนที่ ฯลฯ ด้วยความที่ลำปางเองเป็นเมืองที่ปรากฏตัวอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคหริภุญชัย ล้านนา มาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ การปรากฏตัวของคำอย่าง “เขลางค์” “เมืองนคร” “เวียงละกอน” “เมืองนครลำปาง” ในการศึกษานี้จึงมีบริบทของการเลือกใช้ที่ชัดเจน รวมไปถึงการเลือกใช้คำอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางการปกครองด้วย ในปัจจุบันชื่อเฉพาะดังกล่าวได้รับการให้ความหมายโดยบุคคล องค์กรและหน่วยงานต่างๆในความหมายที่แตกต่างกันไป โดยที่การเลือกใช้คำในอดีตอันแพร่หลายนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกโหยหาอดีตของผู้คนร่วมสมัยอีกด้วย

This article focuses on historiography about naming the center of Lampang city in the past. Lampang city was called several names that relate to the historical development appeared in the historical evidence such as inscriptions, religious texts, the local legends, maps etc. Lampang is the old city that has been mentioned from Haripunchai Age Lanna Age up until nowadays. It appears in the names of "Khelang" "Muang Nakhon" "Wiang Lakhon" "Muang Nakhon Lampang". This paper shows the context of using these names clearly, including the other words that link with the center of administration unit. Today the specific names about Lampang have been meant by people and many social organizations in many ways. The usage of these names still reflects the feeling of nostalgia to the glorious Lampang in the past, too.

 


Full Text:

PDF

References


บรรณานุกรม

โครงการวิจัยคัมภีร์ใบลานภาคเหนือ. บัญชีรายชื่อคัมภีร์ใบลาน จังหวัดลำปาง, เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2524

ธงชัย วินิจจะกูล. “ประวัติศาสตร์การสร้างตัวตน” ใน อยู่เมืองไทย : รวมบทความทางสังคมการเมือง เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530

พรรณเพ็ญ เครือไทยและคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม7 จารึกในจังหวัดลำปาง, เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547

พระโพธิรังสี, พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) และพระญาณวิชิตร (สิทธิ โลจนานนท์) แปล. เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย, นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2554

พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก, พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2507

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (Map of Siam and Thailand: Bangkok Period), ม.ป.ป, ม.ป.ท.

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 2, 28 พฤศจิกายน 2458

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 33, 25 พฤษภาคม 2459

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 33, 30 เมษายน 2459

ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 36, 19 พฤษภาคม 2462

ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง , ม.ป.ท., 2542?

สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, กรุงเทพฯ : อมรินทร์, พิมพ์ครั้ง

ที่ 6, 2552

สรัสวดี อ๋องสกุล, ปริวรรต. ประชุมตำนานลำปาง, เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548

สรัสวดี อ๋องสกุล, ปริวรรต. พื้นเมืองเชียงแสน, กรุงเทพฯ : อมรินทร์,

แสง มนวิทูร. ชินกาลมาลีปกรณ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทองคำ สุวรรนิชกุล ณ สุสานพระบาท อ.เมือง จังหวัดลำปาง วันที่ 17 มกราคม 2515

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด เค. วัยอาจ. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่, เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์, พิมพ์ครั้งที่2, 2547

ฮันส์ เพนธ์และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม2 จารึกพระเจ้ากาวิละ พ.ศ.2334-2357, เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541

โรงเรียนเขลางค์นคร ."ประวัติโรงเรียนเขลางค์นคร". เข้าถึงได้จากhttp://www.kln.ac.th/historyschool.htm

(3 สิงหาคม 2555)

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. "ประวัติเทศบาลเมืองเขลางค์นคร". เข้าถึงได้จาก

http://www.kelangnakorn.go.th/kelangnakorn/history.php (6 สิงหาคม 2555)


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ