การประกอบสร้างชาติไทยในมิติการท่องเที่ยวจากสารคดี: กรณีศึกษา อนุสาร อ.ส.ท.

ชัยเนตร ชนกคุณ, ธนพร หมูคำ, ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, สุพรรณ ทองคล้อย

Abstract


          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวาทกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสร้างชาติไทยจากงานสารคดีในอนุสาร อ.ส.ท. โดยใช้กรอบคิดวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นเครื่องมือหลักในการศึกษา รวมทั้งแนวคิดสัญญะของแฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) แนวคิดภาพแทนของสจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) และมายาคติของโรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ศึกษากลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้
จากอนุสาร อ.ส.ท. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ถึง 2560 รวม 680 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่าอนุสาร อ.ส.ท.มีการประกอบสร้างวาทกรรมการท่องเที่ยวจำนวน 6 ชุด คือ 1.) วาทกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย 2.) วาทกรรมส่งเสริมเยาวชนกับการท่องเที่ยว 3.) วาทกรรมส่งเสริมท้องถิ่นในการตั้งรับการท่องเที่ยว 4.) การประกอบสร้างวาทกรรมด้วยการนำคำชื่นชมจากต่างชาติมานำเสนอ 5.) วาทกรรมสร้างคุณค่า มูลค่า ของดีและความเป็นไทย ผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 6.) วาทกรรมความเจริญตามแนวคิดของรัฐ ชุดวาทกรรมที่พบมีการผลิตซ้ำมายาคติเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เน้นส่งเสริมท้องถิ่นตามวลี “ของดีท้องถิ่น” เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อนุสาร อ.ส.ท.ผลิตซ้ำวาทกรรมเพื่อตอบสนองแนวคิดของรัฐตามวาทกรรมการพัฒนามากที่สุด ด้วยสัญญะ พบการใช้ความศิวิไลซ์แทนความเจริญของเมืองท่องเที่ยวเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองหลวง มีการใช้รถม้า และช้างเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์ในจังหวัด ด้านมายาคติที่พบคือการนำเสนอการท่องเที่ยวแบบชวนไทยเที่ยวไทยตามแนวนโยบายของประเทศที่พัฒนาอย่างญี่ปุ่น เป็นการเน้นย้ำความสำคัญของคนไทยที่ต้องสร้างชาติด้วยการส่งเสริมนโยบายท่องเที่ยวของภาครัฐ และภาพแทน “ของดี” ที่ปรากฏในการนำเสนอมุมมองแต่ละพื้นที่ในท้องถิ่น อนุสาร อ.ส.ท.ได้ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการประกอบสร้างชาติไทยด้วยวาทกรรมการท่องเที่ยวและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติไทยด้วยการใช้สารคดี


Keywords


การประกอบสร้าง, ชาติไทย, อนุสาร อ.ส.ท., การท่องเที่ยว, สารคดี

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ