การพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของชนชั้นแรงงาน

ดิลก บุญอิ่ม

Abstract


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของชนชั้นแรงงาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของชนชั้นแรงงานและ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของชนชั้นแรงงาน เป็นการวิจัยแบบสำรวจทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปริญญาตรี ของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นกลุ่มผู้ประสบความสำเร็จจากอาชีพใช้แรงงาน กลุ่มพระภิกษุ และผู้นำชุมชน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของชนชั้นแรงงาน: ประเด็นที่มีการพัฒนาระดับสูงสุด ได้แก่ ได้ยึดหลักความถูกต้องตามวิถีชุมชน มีเป้าประสงค์ชัดเจนในการทำงาน สามารถสร้างมิตรกับคนรอบข้าง ได้เข้าร่วมในกิจกรรมชุมชน มีการจัดสรรเวลาในการทํางานอย่างชัดเจน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน และมีศิลปะการคบคน 2) ปัจจัยการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ของคนชั้นแรงงาน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความมุ่งมั่นในการทำงาน ความสามารถในการสร้างมิตร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ความซื่อตรงต่อเวลาในการทำหน้าที่ของตน ความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงน้ำใจเอื้ออาทรต่อเพื่อนบ้าน และการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม 3) รูปแบบการพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพุทธศาสน์ ชนชั้นแรงงานควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย รู้จักลงทุนตามความสามารถของตนเอง ซื่อตรงต่อเวลา ทำให้ตัวเองเป็นที่พึ่งของสังคม และมีศิลปะในการคบคน

          ความรู้ที่ได้รับ: การพัฒนาคุณค่าในตนเองตามแนวพระพุทธศาสนา หากชนชั้นแรงงานพัฒนาตนด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน ทำงานสมบทบาทที่ได้รับ ใช้ทุนทรัพย์ตามกำลัง ซื่อตรงต่อเวลา ทำให้ตัวเองเป็นที่พึ่งของสังคม และมีศิลปะในการอยู่ร่วมกับผู้คน เช่นนี้ย่อมเป็นคนมีคุณค่าในตนเองจากมุมมองของสังคม


Keywords


คุณค่า, พุทธศาสน์, แรงงาน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ