แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

จัตุรถากรณ์ คล้ายทอง, ธนวิทย์ บุตรอุดม

Abstract


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานคือ การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชน
ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง

          ผลวิจัยพบว่า ความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ของเทศบาลนครอุดรธานี อยู่ในระดับมาก และพบว่าระดับความพร้อมในการจัดเก็บภาษีเทศบาลนครอุดรธานี มีระดับความพร้อมที่ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าด้านนโยบายในการจัดเก็บภาษีด้านการบริหาร ด้านกฎหมาย ด้านการมีส่วนรวม ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ด้วย


Keywords


สภาพการจัดเก็บภาษี, ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ