การสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเซรามิก โดยใช้กระบวนการกราฟิกในการออกแบบ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับเซรามิก โดยใช้กระบวนการกราฟิกในการออกแบบ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการออกแบบกราฟิกรวมถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ที่สามารถพิมพ์กระดาษรูปลอกน้ำ (Decalcomania Paper) มาใช้ร่วมกันในการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากเซรามิก ที่นำเสนอลวดลายขนมปังขิง ที่พบเห็นได้ตามสถาปัตยกรรมเก่าแก่ในกาดกองต้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง นอกจากจะสะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นลำปาง ความเป็นตัวตนของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ลวดลายที่แตกต่างจากเดิม อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงขนาดกลางนำไปพัฒนาต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่อไป สำหรับงานเครื่องปั้นดินเผาเซรามิกมีรูปแบบการสร้างสรรค์เป็นงานหัตถศิลป์ที่ผลิตมาจากดินอันเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ทำให้ผู้ที่สวมใส่ได้แสดงความเป็นตัวตนและสื่อสารจากการแต่งกายออกมาได้อย่างชัดเจนและมีเอกลักษณ์ ด้านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเริ่มจากการรวบรวมลายขนมปังขิง การสร้างและเลือกคักเลือกแบบร่าง ทั้งในส่วนของลวดลายและรูปแบบของเครื่องประดับ ก่อนที่จะนำลวดลายมาออกแบบแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษรูปลอกน้ำ (Decalcomania Paper) จัดวางลงบนรูปของเครื่องประดับที่ผ่านการคัดเลือก แล้วนำเข้าสู่กระบวนการเผา จนได้ผลงานเครื่องประดับเซรามิกที่ประกอบด้วย จี้สร้อยคอและตุ้มหู จำนวน 5 ชุด
โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเซรามิก ความพึงพอใจในด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ อันได้แก่ 1) ความสวยงามของผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเครื่องปั้นดินเผา ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76 2) เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 91 และ 3) แสดงเอกลักษณ์เฉพาะจากแนวความคิดลวดลายขนมปังขิง ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64 ด้านความพึงพอใจด้านการใช้งาน อันได้แก่ 1) มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 71 และ 2) เหมาะที่จะเป็นของที่ระลึก ของฝาก ของใช้ ระดับความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ