แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันเตือนภัยแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย
Abstract
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลให้เข้าถึงกลุ่มผู้รับสารและสามารถนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมและการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับกลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มตัวแทนจากหน่วยบรรเทาสาธารณภัย ที่อาศัยอยู่ตามแนวรอยเลื่อน 5 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่ลาว รอยเลื่อนแม่อิง รอยเลื่อนแม่ทา และรอยเลื่อนพะเยา ผลการศึกษามีดังนี้
แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันเตือนภัยแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย สามารถพัฒนาใน 3 ประเด็น ดังนี้ รูปแบบของแอปพลิเคชัน เนื้อหาในการสื่อสาร และแนวทางการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของแอปพลิเคชัน ต้องประกอบด้วย (1) ชื่อแอปพลิเคชันที่มีความสัมพันธ์กับแผ่นดินไหว และสะท้อนมุมมองและทัศนคติเชิงบวก (2) การใช้ตัวหนังสือในแอปพลิเคชันที่อ่านได้ง่าย เข้าใจได้ง่าย และสื่อสารกระชับ (3) การใช้สี เน้นสีที่สะดุดตา และช่วยให้การอ่านง่าย สบายตา (4) การสื่อสารผ่านภาพวาด ใช้การ์ตูนเข้ามาร่วมในการสื่อสาร สื่อสารด้วยความกระชับและง่ายต่อการทำความเข้าใจ และ (5) การใช้ภาษาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์ แอปพลิเคชันที่พัฒนาจึงประกอบด้วย 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาอาข่า และภาษาม้งด้านเนื้อหาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างการเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์แผ่นเดินไหว โดยแบ่งเป็น การปฏิบัติตัวก่อน ระหว่าง และหลังเกิดแผ่นดินไหว (2) เนื้อหาเกี่ยวกับการแจ้งเตือน เป็นการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน
และทำให้เห็นถึงการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน เพื่อเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ และ (3) เนื้อหาเกี่ยวกับการติดต่อขอรับการช่วยเหลือ คือการเพิ่มช่องทางการติดต่อหน่วยงานราชการผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะติดต่อขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยพยาบาลฉุกเฉินต่อไป และแนวทางในการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น (1) การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยมี Facebook ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงสื่อดั้งเดิมอย่างไวนิล และโปสเตอร์ (2) การสื่อสารผ่านบุคคล บุคคลที่เป็นผู้นำกลุ่ม ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา นักเรียน นักศึกษา ซึ่งจะช่วยทำให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เข้าถึง และเห็นถึงความสำคัญของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อป้องกันปัญหาภัยพิบัติแผ่นดินไหว
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ