ความเป็นมาของประเพณีไหว้ครูของไทยในสถานศึกษา และความหมายของสิ่งสัญลักษณ์ที่ใช้ในการไหว้ครู
Abstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะวิเคราะห์ความเป็นมาของประเพณีไหว้ครูในสถานศึกษาของไทย
และความหมายของสิ่งที่ใช้ไหว้ครูโดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่าการไหว้ครูของไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานเริ่มตั้งแต่การไหว้ครูเป็นส่วนบุคคล จนพัฒนาเป็นการไหว้ครูอย่างเป็นแบบแผนในสถานศึกษา ด้วยค่านิยมที่ถือว่าครูเป็นบุคคลที่ควรเคารพในฐานะผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่ศิษย์ ส่วนสิ่งไหว้ครูที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม รวมทั้งข้าวตอกและดอกรักนั้น ได้มีการให้ความหมายในบริบทของสังคมไทยอันเป็นที่เชื่อถือยอมรับกันมายาวนาน แต่ผลการศึกษาวิจัยพบว่าสิ่งสักการะครูดังกล่าวนั้นไทยน่าจะรับมาจากคติของฮินดูที่ใช้บูชาเทพเจ้าทั้งสิ้น กล่าวคือ หญ้าแพรกใช้บูชาพระพิฆเนศ ดอกเข็มและดอกรักบูชาพระศิวะ ข้าวตอกบูชาพระสรัสวดีและพระหนุมาน และบางกลุ่มก็บูชาพระอุมาด้วย ส่วนดอกมะเขือนั้นแม้จะไม่พบการใช้บูชาเทพ แต่ชาวฮินดูบางกลุ่มก็ใช้ใบมะเขือบูชาพระพิฆเนศ ส่วนการไหว้ครูสอนหนังสือของไทยใช้ดอกมะเขือนั้น คงเป็นเพราะดอกมะเขือน่าจะหาง่ายกว่าดอกอัญชัน เนื่องจากเรือนครัวไทยส่วนใหญ่ปลูกมะเขือกันทั่วไปเพื่อใช้ประกอบอาหารหลายชนิด
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ