การสร้างหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้สูงอายุเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษให้แก่ผู้สูงอายุ และ (2) เพื่อสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) กลุ่มประชากรที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นผู้เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุวัดศรีหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ (1) แบบสำรวจความสนใจและความต้องการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้สูงอายุเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และ (2) แผนการสอนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่ผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสนใจและความต้องการศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับผู้สูงอายุเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันนั้น 1.1) ผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะความรู้ทางภาษาอังกฤษร้อยละ 96 1.2) ผู้เรียนต้องการพัฒนาความรู้ทางภาษาอังกฤษเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 45.45 1.3) ผู้เรียนต้องการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษมากที่สุด ร้อยละ 52 1.4) ผู้เรียนต้องการต้องการเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสนทนาในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 39.21 1.5) หัวข้อภาษาอังกฤษที่สนใจในการเข้ารับการฝึกอบรม คือ สุขภาพ ร้อยละ 25.76 1.6) การจัดกิจกรรมต้องการให้ทำกิจกรรมพร้อมกันทั้งชั้นเรียน ร้อยละ 45.28 1.7) วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการมากที่สุด คือ การทำกิจกรรมโดยมีนักศึกษาเป็นผู้ช่วยเรียน ร้อยละ 36.07 1.8) ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าอบรมที่ต้องการ คือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีสอดคล้อง (IOC) 1.00 แสดงว่าแผนการสอนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษมีความสอดคล้องกับความสนใจและต้องการของผู้เรียน
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ