การศึกษาทักษะการบรรเลงขิม ตามแนวทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

นิพนธ์ กล่ำกล่อมจิตร, ปวิชญา พรหมรักษ์, อรวรา บัวผา

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้านทักษะการบรรเลงขิมตามแนวทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ 2) เพื่อศึกษาทักษะการบรรเลงขิมตามแนวทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ แบบประเมินผลทักษะการบรรเลงขิมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกทักษะการบรรเลงขิมพื้นฐาน แบบประเมินผลทักษะการปฏิบัติขิมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้ทักษะการบรรเลงขิมตามแนวทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ ก่อนการเรียนการสอนมีผลคะแนน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ x̄ = 8.26 (S.D. = 2.21) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการเรียนการสอนมีผลคะแนนค่าเฉลี่ยอยู่ที่ x̄ = 14.40 (S.D. = 2.32) การประเมินผลทักษะการบรรเลงขิมพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทางด้านการศึกษาทักษะการบรรเลงขิมพบว่า ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในดนตรีมากขึ้น (พุทธิพิสัย) มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (จิตพิสัย) และผู้เรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียน (ทักษะพิสัย) หลังจากได้รับการพัฒนาทักษะการบรรเลงขิม โดยใช้ทฤษฎีการสอนดนตรีของคาร์ลออร์ฟ

Keywords


คาร์ลออร์ฟ, ขิม, ทักษะ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ