รูปแบบการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง

เสาวรีย์ บุญสา

Abstract


          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร พนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน กำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการขยะ ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40 คน มีวิธีดำเนินการโดยเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย(1) แบบบันทึกสังเกตแบบมีส่วนร่วม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (3) แบบสนทนากลุ่ม มีวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากผู้เกี่ยวข้อง โดยนำข้อค้นพบจากการวิจัยมาเชื่อมโยงสร้างเป็นข้อสรุป แล้วนำเสนอเนื้อหาด้วยวิธีพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง (ต้นทาง) ประชาชนในเขตเทศบาลยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ โดยเฉพาะการคัดแยกขยะต้นทาง , การรณรงค์หรือประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนยังขาดความต่อเนื่อง (กลางทาง) มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือในการเก็บขน และกำจัดไม่เพียงพอ และยังไม่มีระบบเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทเพื่อรองรับการคัดแยกมูลฝอย รวมทั้งมีข้อบังคับที่มีบทลงโทษไม่เข้มงวด ข้อบังคับบางประเด็นไม่สามารถบังคับใช้ได้ (ปลายทาง) เทศบาลในจังหวัดลำปางส่วนใหญ่ไม่มีสถานที่สำหรับกำจัดขยะมูลฝอยเป็นของตนเอง และการกำจัดเป็นแบบเทกองที่ไม่ถูกหลักวิชาการ บางเทศบาลก็จะประสบปัญหาด้านงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่สามารถดำเนินการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง พบว่ากรอบกฎหมายที่จำเป็นต่อการจัดการขยะที่ถูกต้องมีข้อปฏิบัติที่จำกัด, เทศบาลส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อม ด้านเครื่องมือและความรู้สำหรับการวางแผนจัดการขยะในระยะยาว, ข้อจำกัดด้านงบประมาณและการอุดหนุน ค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ครอบคลุม
ต้นทุนจริงในการบริหารจัดการขยะ , ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการขยะให้ถูกต้อง (3) รูปแบบการบริหารจัดการขยะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง พบว่า เป็นรูปแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมจัดการขยะในชุมชนเชิงบูรณาการ มีเป้าหมายให้เทศบาลปลอดขยะ ประชาร่วมตระหนัก และชุมชนสะอาดปลอดภัย โดยมีแนวทาง/หลักการและวิธีการในการดำเนินการที่มีส่วนร่วมปฏิบัติการจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย


Keywords


รูปแบบ, การบูรณาการ, การบริหารจัดการขยะ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ