การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Abstract
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สื่อมัลติมีเดีย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการเรียน มีค่าเท่ากับ 83.28/86.96 คือ มีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 83.28 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 86.96 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 80/80 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีนโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) = 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.52
จากการวิจัยพบว่าในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านนั้น ปัจจัยที่มีความสำคัญอีกปัจจัยคือสื่อมัลติมีเดียที่ให้นักเรียนศึกษาด้วยตัวเอง จึงเสนอแนะให้มีการวิจัยเพิ่มเติมในด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภาษาจีนที่สามารถให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ