ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจำนวน 11 คน จาก 11 ตำบลของอำเภอภูเวียง กลุ่มอายุ 55-60 ปี โดยใช้รายการคำทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของเก็ดนีย์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกลวิธีทางสัทศาสตร์โดยใช้โปรแกรม Praat เวอร์ชั่น 6.0.33 ผลการศึกษาพบว่าภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีจำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 และ 6 หน่วยเสียง โดยกลุ่มที่มีวรรณยุกต์จำนวน 5 หน่วยเสียง พบในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.หว้าทอง ต.นาชุมแสง ต.บ้านเรือ ต.หนองกุงธนสาร และ ต.สงเปือยรูป แบบการแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์พยางค์เป็นช่อง A สามารถแบ่งย่อยได้เป็น2 กลุ่ม คือ A1-234 และ A123-4 ส่วนกลุ่มที่มีวรรณยุกต์จำนวน 6 หน่วยเสียง พบในพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ต.กุดขอนแก่น ต.ดินดำ ต.ทุ่งชมพู ต.ภูเวียง ต.นาหว้า และ ต.หนองกุงเซินมีรูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์พยางค์เป็นช่อง A เพียงรูปแบบเดียว คือ A1-23-4 เมื่อพิจารณาสัทลักษณะของวรรณยุกต์พบว่ามีการแปรที่หลากหลายแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัย และพบรูปแปรที่สามารถจัดแบ่งกลุ่มภาษาถิ่นย่อยได้อีกหลายถิ่น
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ