เพราะการศึกษาไทยคือการสอบคำตอบคือ “กวดวิชา?” โรงเรียนกวดวิชากับสังคมจังหวัดลำปาง / Tutoring Schools and Lampang’s Society

ศิวพล ชมภูพันธุ์

Abstract


บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ที่เรียกว่า โรงเรียนกวดวิชา ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนได้ศึกษาเฉพาะโรงเรียนกวดวิชาที่ตั้งขึ้นและจดทะเบียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น โดยมีกรอบคิดว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบในระดับต่างๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรงเรียนกวดวิชาทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจังหวัดลำปางพบว่า โรงเรียนกวดวิชาในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดลำปาง มีผู้ประกอบการเป็นทั้งคนในท้องถิ่น และโรงเรียนกวดวิชาที่มาจากกรุงเทพมหานคร และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลัง พ.ศ.2542 เป็นต้นมา  ผู้เขียนได้แบ่งพัฒนาการของโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดลำปางออกเป็น 3 ยุคคือ ยุคที่ 1 เป็นยุคโรงเรียนกวดวิชาที่มีข้าราชการครูในระบบเป็นผู้จัดตั้ง ยุคที่ 2 คือ ยุคที่โรงเรียนกวดวิชามีติวเตอร์นอกระบบการศึกษาเป็นผู้จัดตั้ง และยุคที่ 3 คือ การมาถึงของโรงเรียนกวดวิชาที่เป็นสาขามาจากกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบการสอบ และส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในจังหวัด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการศึกษาในจังหวัดลำปางได้อย่างเด่นชัด 


This paper presents the changing of education system
of a type of private school called Tutoring School. The
writer focus on the schools which registered officially
with the Ministry of Education. The study has a frame
that the changing of education system and the form of
examination in many levels affected the transformation
of tutoring school both in Bangkok and other provinces.
The changing of tutoring school also find that in Lampang,
there are entrepreneur both from local and branches from
famous tutoring schools in Bangkok. The rising in quantity
has been obviously seen since 1999. The writer divide the
development of tutoring schools in Lampang into 3 periods.
The first period is when these schools have been operated
by local public school’s teachers, the second period is
when these schools have been operated by private tutors
and the third is the arrival of branches from big tutoring
schools from Bangkok. This development relates with the
changing of examination and learning behavior of students
in Lampang and the education society in the province.

 


Full Text:

Untitled

References


เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545ก).ระเบียบการกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการการกำหนดมาตรฐาน

โรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชาพ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

_________. (2545ข). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545 พร้อมกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ

พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์.(2554) “ปัญหาโรงเรียนกวดวิชา คือปัญหาการศึกษาไทย” [ออนไลน์]

เข้าถึงข้อมูล วันที่ 1 กันยายน 2557 จากhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/editorial

กิตติลิ่มสกุล. (2553). ผลกระทบของโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชาต่อระบบการศึกษาในมิติด้าน

เศรษฐศาสตร์และด้านการศึกษา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา

การศึกษา

ไทยพับลิกา.(2556) “กวดวิชา” มาตรฐานการศึกษาไทย เรียน “เพื่อสอบ” หรือเรียน “เพื่อรู้”

[ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลวันที่ 25 สิงหาคม 2557 จากhttp://thaipublica.org/2013/03/tutorial-critical-study-of-thailand/

ประภาวัลย์ ชวนไชยะกุล (2556,ตุลาคม-มีนาคม2557).“การศึกษาสภาพและผลกระทบของ

โรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย” วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา

(1),19-33

ผู้จัดการออนไลน์(2556) “ธุรกิจกวดวิชาพากันรวย! ยุคแข่งเดือด-รายใหม่เกิดได้จริงหรือ? (ตอนที่

” [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลวันที่ 28 สิงหาคม 2557จาก http://manager.co.th/Lite/ViewNews.aspx?NewsID=9560000119876

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2556) “ตลาดกวดวิชายังคงเติบโต : จับตา ทางเลือกกว้างขึ้นของนักเรียน และ

สินค้าติวเข้ามหาวิทยาลัย เป็นปัจจัยท้าทาย” [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลวันที่ 22 สิงหาคม 2557 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/k-econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=31682

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2556) “ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะเติบโตต่อเนื่อง...คาดปี' 57

แฟรนไชส์กวดวิชาและสอนภาษายังคงมาแรง” [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลวันที่ 22 สิงหาคม

จาก https://www.kasikornresearch.com/th/k-

econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=32118

สุวรรณา เปรมโสตถ์.(2551) “กวดวิชา ปัจจัยที่ห้าของครอบครัวยุคใหม่” [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูล

วันที่ 20 สิงหาคม 2557 จาก http://www.sarakadee.com/2008/11/01/tutor/

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์

เกียรติศักดิ์ วรรณศรี (16 กันยายน 2557).สัมภาษณ์

จันห์ทิศา ทนาบุตร.(20 กันยายน 2557).ประธานชมรมสถานศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดลำปาง.สัมภาษณ์

ธนากร ปรีชาเดชบารมี (15 กันยายน 2557).สัมภาษณ์

นิโรบล วราสุทธิ์.(1 สิงหาคม 2557).สัมภาษณ์

สมพล สุขพร้อม (15 กันยายน 2557).ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชา Alternate.สัมภาษณ์

วิภาพรรณ ชมภูพันธุ์ (1 สิงหาคม 2557).สัมภาษณ์

เหมรัศมิ์ ปรีดาธัญธนิน.(20 กันยายน 2557).ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาออเรี่ยม.สัมภาษณ์


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ