ขบวนการค้าหนังสืออนุสรณ์งานศพ : การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ / Trading Process of Cremation Memorial Books : Commercialization of Cultural Resources

อนุเทพ หน่อบุญโยง

Abstract


ตามนโยบายและแผนงานของกรุงเทพมหานครที่เอาจริงเอาจังกับการจัดการการใช้พื้นที่ในเขตเมืองชั้นในด้วยการจัดระเบียบการค้า ร้านค้า แผงค้าและผู้ค้าบนบาทวิถีย่านท่าเตียน-ท่าช้าง-ท่าพระจันทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่กีดขวางการสัญจรไปมาของผู้ใช้บาทวิถี รวมถึงเสริมสร้างทัศนียภาพที่ดีในพื้นที่ที่อุดมไปด้วยสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เปรียบเสมือนหัวแหวนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันดึงดูดผู้คนต่างๆ ทั้งชาวไทยและนานาชาติจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมยล

บทความนี้จะขอนำเสนอถึงบริบทการค้าบนบาทวิถีเลียบถนนมหาราช หรือแผงลอยหาบเร่แบกะดินย่านท่าเตียน-ท่าช้าง เป็นแหล่งรวมของเก่า ของมือสองสารพัดสารพัน เป็นต้นว่า วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกสมัย ยาแผนโบราณ หนังสือเก่า ของใช้แปลกๆ จากทั่วทุกมุมบ้าน รวมไปถึงของชำร่วยแจกฟรี อย่างหนังสืออนุสรณ์งานศพบุคคลต่างๆ ที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่สามารถสร้างมูลค่าได้มิน้อย แล้วหนังสืออนุสรณ์งานศพเหล่านี้มีที่มาจากไหนกันละนี่...มีเส้นทางการค้าจากเมรุมาสู่แผงหนังสือเก่าย่านท่าเตียน-ท่าช้างได้อย่างไร...และอะไรที่ทำให้หนังสือเหล่านี้เป็นที่ต้องการและสามารถซื้อขายสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจได้มิน้อย

The cremation memorial book is a unique, rare, and limited-edition book. It cannot be found in general book stores or online information sources. The Cremation Memorial Book comprises substantive knowledge of historical facts, and biographies of the deceased and of famous people, remarkable and significant – interesting information for general interest and of great use across fields and disciplines.

The book serves as a memorial and souvenir for attendees of the documented funerals, as well as a source of inspiration and interest for readers, collectors, academics, and general audiences. Important commercial venues for this book include the antique bookstall at Tha Tian – Tha Chang, Worachak market, the antique book store at Chatuchak Market, and book booths in the Thailand Book Fair and online shops on the internet. Venues that specialize in antiques, collectables, curios, heirlooms, and rare and unique books will appreciate the Cremation Memorial Book, as will readers and shoppers interested in learning about late nobility, leaders, and famous people. The quality craftsmanship, pristine condition, and imitable style and layout will make the Cremation Memorial Book a lasting treasure for buyers and owners, guaranteed to increase in value and worth as the years go by, and the figures documented therein slip further and further into history.


Full Text:

Untitled

References


บรรณานุกรม

โกศล ช่อผกา.หนังสืออนุสรณ์งานศพสามัญชนเล่มแรกของสยาม?. เข้าถึงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2554. เข้าถึงได้จาก http://www.thaibiography.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539011528

นวลจันทร์ รัตนากร ชุติมา สัจจานนท์และมารศรี ศิวรักษ์.”ห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพ” ใน ปกิณกะเรื่องหนังสือไทยสมัยรัตนโกสินทร์.กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.2524

ศิริเพ็ญ น้าสกุลและสุมัยวดี เมฆสุต.สารพัดสารพันงานสร้างสรรค์ หนังสืองานศพ ส่วนหนึ่งของหนังสืองานศพวัดบวรนิเวศวิหาร.จดหมายข่าวสมาคมจดหมายเหตุไทย.ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม 2540-เดือนกันยายน 2541

สงวน อั้นคง. การแจกหนังสือเป็นของชำร่วย ใน สิ่งแรกในเมืองไทย.กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2529

สายันต์ ไพรชาญจิตร์.archaeopen 10 ปี โบราณคดีชุมชน The First Decade of Community Archaeology. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาพัฒนาโบราณคดีชุมชน. 2553.

สุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์.การศึกษาประเภทของหนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพที่คัดลอกเรื่องจากต้นฉบับของหอสมุดแห่งชาติและเรื่องที่ได้จากแหล่งอื่น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2501-2510.กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2512.

อนุมานราชธน.พระยา.ฟื้นความหลังเล่ม 4.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : ศยาม, 2547

เอนก นาวิกมูล. “หนังสือพิมพ์-หนังสืองานศพ” ตลาดเล็ก ๆ The little market.กรุงเทพฯ : สายธาร, 2552.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.




ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ