ส่วนนำ
Abstract
วารสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นทางสังคม เพื่อสะท้อนความเคลื่อนไหว
ในหลากหลายมิติ โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น จำนวน 8 บทความ ซึ่งเป็นบทความที่สามารถถ่ายทอด
ทั้งแนวทาง กระบวนการในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางสังคม ทั้งยังมีบทความที่ได้สะท้อนภาพลักษณ์ มุมมอง และเรื่องเล่าของผู้หญิงในสังคมสยาม โดยถ่ายทอดเรื่องราวผ่านทางศิลปกรรมอีกด้วย
“การเมืองและการปกครองท้องถิ่นของไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน: ทิศทาง แนวโน้ม” โดย ดวงใจ พุทธวงศ์ ณัฐพงษ์ คันธรส อัมฤตา สารธิวงค์ และฐาปนี ชุมพลวงศ์ เป็นบทความวิชาการที่ถ่ายทอดลักษณะของทิศทางการเปลี่ยนผ่านการเมืองและการปกครองท้องถิ่นของไทยตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปจนถึงหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560 และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นในด้านของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 และกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยบทความนี้
ยังได้แสดงถึงแนวโน้มและทิศทางของการเมืองและการปกครองท้องถิ่นของไทยในอนาคตอีกด้วย
ส่วนบทความเรื่อง “ผู้หญิงในศิลปกรรมอยุธยา-รัตนโกสินทร์: ภาพลักษณ์ มุมมอง และเรื่องเล่า” โดย
กำพล จำปาพันธ์ เป็นบทความที่นำเสนอการศึกษาด้านภาพลักษณ์ มุมมองที่สะท้อนความคาดหวังให้ผู้หญิง มีบทบาทใน 3 แง่มุม โดยถ่ายทอดรายละเอียดทางศิลปกรรมในลักษณะที่แตกต่าง เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชายและธำรงรักษาระบอบชายเป็นใหญ่แบบไทยไว้ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น
สำหรับบทความเรื่อง“ผลกระทบทางการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs ในเขต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดย ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ อนันต์ สุนทราเมธากุล อัยรดา พรเจริญ และสรายุทธ พรเจริญ เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาสภาพ ผลกระทบ และปัจจัยที่มีต่อการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หลังจาก
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
“รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวชุมชนต้นแบบ จังหวัดลำปาง” โดย รัชฎาภรณ์ ทองแป้น เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาบริบทศักยภาพของชุมชน และปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ
จังหวัดลำปาง โดยชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบนี้ได้มีการพัฒนามาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ
ได้มองเห็นถึงศักยภาพของชุมชน และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชน
“การศึกษากลไกการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมสัมมาอาชีพและการพึ่งตนเองของครอบครัว สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย อุทุมพร อินทจักร์ เป็นบทความวิจัยที่ศึกษากลไกการทำงานเชิงพื้นที่
เพื่อสร้างสัมมาอาชีพและการพึ่งตนเองของครอบครัวสำหรับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัย
แบบผสมผสาน ซึ่งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดและ
ถอดบทเรียนการทำงานทั้งจากครอบครัวและชุมชนในจังหวัดนำร่องทั้ง 11 จังหวัด
สำหรับอีก 2 บทความเป็นบทความวิจัยที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยบทความแรก
เป็นบทความที่วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และได้เสนอแนะแนวทางในการจัดทำแผนชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ของธนวิทย์ บุตรอุดม และวิศท์ เศรษฐกร ส่วนอีกบทความเป็นของเสาวรีย์ บุญสา และนิศาชล พรมดี ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนพัฒนาศักยภาพ
ส่วนบทความสุดท้ายเป็นบทความเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของรูปแบบการปราบปรามยาเสพติดในเขตภาคเหนือตอนบน” โดย ธานี ตันจันทร์กูล เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาสถานการณ์ รูปแบบการกระทำความผิด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของรูปแบบการปราบปรามยาเสพติดในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่ง
ในปัจจุบันสถานการณ์ยาเสพติดรุนแรงขึ้นในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการผลิต การลักลอบเพื่อนำเข้า การขาย และ
ผู้เสพยาเสพติด
การเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา โดยผู้เขียนสามารถถ่ายทอดทั้งแนวทาง และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
เพื่อสะท้อนถึงสาเหตุ และปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ