กลวิธีทางภาษาสร้างความเป็นอื่นในวรรณคดี นิราศคำกลอนของสุนทรภู่
Abstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาสร้างความเป็นอื่นต่อบุคคลต่างๆ ในทัศนะของสุนทรภู่ โดยศึกษาจากผลงานวรรณคดีนิราศคำกลอนจำนวน 6 เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร และนิราศวัดเจ้าฟ้า ผลการศึกษาพบว่ากวีใช้กลวิธีสร้างความเป็นอื่น 5 กลวิธีคือ 1. การใช้คำอ้างถึง จำแนกเป็น 2 ชนิดคือ คำอ้างถึงชาติพันธุ์ และคำอ้างถึงเชิงลบ 2.การใช้ภาพพจน์ พบ 2 ชนิดคือ อุปมา และอุปลักษณ์ 3.การเปรียบต่าง 4.การใช้คำสรรพนาม และ 5. การขยายความ กลวิธีเหล่านี้ใช้กล่าวถึงบุคคลที่มีความเป็นอื่นในทัศนะของกวีคือกลุ่มคนชาติพันธุ์และกลุ่มคนไทยชาวบ้าน เพื่อสร้างความเป็นอื่นให้มีความแตกต่างและมักอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่ากวี
Keywords
กลวิธีทางภาษา, ความเป็นอื่น, นิราศ, สุนทรภู่
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ