ส่วนนำ
Abstract
วารสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นด้านการศึกษาภาษาและนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น จำนวน 6 บทความซึ่งเป็นบทความที่สามารถถ่ายทอดวิธีการ กระบวนการ หรือกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ดีขึ้น อีกทั้งบางบทความยังได้นำทฤษฎีทางภาษาศาสตร์มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศ เพื่อสะท้อนมุมมองของการสื่อความหมายที่แตกต่างกันในบริบทที่เหมือนกันนอกจากนั้นบางบทความยังได้เชื่อมโยงมุมมองทางด้านภาษาสู่ความเชื่อและประเพณี เพื่อสะท้อนวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในบริบทของสังคมปัจจุบัน
“การใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้กรณีศึกษาในการพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนในรายวิชาสัทศาสตร์จีน”โดย กิตติญา ตุ้ยคำ อภิชาต เลิศพินิจอมรกุล และธีวรา จันทรสุรีย์ เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาและพัฒนาวิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้กรณีศึกษาในการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาจีนในรายวิชาสัทศาสตร์จีน เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สอนในการแก้ไขปัญหาด้านการออกเสียงของผู้เรียนภาษาจีน
“การสร้างชุดการสอนวิชากีตาร์เบื้องต้นโดยใช้สื่อการสอน Backing Tracks 12 Bar Blues กรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านดนตรีลำปาง จังหวัดลำปาง”โดย ชัยชนะ ยงไสว และ ชัยพฤกษ์ เมฆรา เป็นบทความวิจัยที่ศึกษาผลความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้ชุดการสอนที่สร้างขึ้น โดยผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นในระดับที่มาก เนื่องจากชุดการสอนนี้สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นต่อการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
“การศึกษาเปรียบเทียบการใช้อุปลักษณ์สัตว์ที่แสดงมโนทัศน์เกี่ยวกับคนในสำนวนไทยและสำนวนอังกฤษ”โดย สุทธิพจน์ พีรณวงษ์ และ โสภนา ศรีจำปาเป็นบทความวิจัยที่นำทฤษฎีทางภาษาศาสตร์เชิงอุปลักษณ์มาศึกษาความแตกต่างทางมโนทัศน์เกี่ยวกับสัตว์ในการใช้สื่อความหมายของสำนวนทางภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้คำให้เหมาะสมตรงตามมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษา
“การพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของบ้านศาลาบัวบก ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง”โดยเอื้อมพร ฟูเต็มวงค์ บุษราคัม อินทสุก และ สนธิญา สุวรรณราช เป็นบทความวิจัยที่วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนในพัฒนาศักยภาพการสื่อสารของเยาวชน และพัฒนาในการสื่อสารของเยาวชนบ้านศาลาบัวบกให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
“ประเพณีสร้างสรรค์ : การสรงน้ำพระบรมธาตุศรีจอมทอง”โดย นิตยา มูลปินใจ และ สิริญญา สุขสวัสดิ์เป็นบทความวิชาการที่มุ่งพิจารณาการสรงน้ำพระบรมธาตุศรีจองทอง ในเชิงของประเพณีสร้างสรรค์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบของกิจกรรมประเพณีแบบดั้งเดิมกับรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมในปัจจุบัน
ส่วนบทความเรื่อง “การวิเคราะห์การสนทนา : วิธีสอนเพื่อพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษ” โดย ประยงค์ กลั่นฤทธิ์เป็นบทความที่ศึกษาถึงการวิเคราะห์การสนทนาเพื่อนำมาใช้พัฒนาความสามารถในการพูดสนทนาภาษาอังกฤษในบริบทการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล
สำหรับบทความสุดท้ายเป็นบทความปริทัศน์เรื่อง “บทวิจารณ์บริจิตต์ ชบาในไรแดด : หลายบทบาทจากหมู่เกาะแพซิฟิคใต้ ”โดยชาคริต แก้วทันคำ เป็นบทความที่วิจารณ์ลักษณะการใช้ภาษาเพื่อบรรยายถึงสภาพแวดล้อมและบริบทในมุมมองต่าง ๆ ของผู้เขียนแต่ละท่าน เพื่อสะท้อนให้ผู้อ่านได้เข้าใจในบริบทต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยบทความวิจารณ์นี้สามารถชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นความสำคัญของภาษาเพื่อการสื่อสาร และสามารถสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกที่แฝงไว้ภายใต้จิตสำนึกของผู้ใช้ภาษาได้อีกด้วย
บทความข้างต้นนี้แม้จะไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแง่มุมการถ่ายทอดวิธีการหรือกระบวนการด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด แต่ก็สามารถสะท้อนนวัตกรรมทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของภาษาเพื่อการสื่อสาร ผู้เขียนเชื่อว่านอกกรอบของภาษาและนวัตรกรรมแล้วนั้น ภาษายังสามารถเชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ