การพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างจำแนกได้ดังนี้ 1) เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 10 ธุรกิจ ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2)ประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 7 คน ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและ 3) นักวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยเรื่องการพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเอกสารการวิจัยต่างๆ และ การสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยจะพิจารณาเนื้อหาออกมาประเด็นหลัก หรือ แบบแผนหลัก

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีนั้นมีคุณลักษณะพิเศษของอัตตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางบุญของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี ใน 5 อัตลักษณ์ด้วยกัน อัตลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม อัตลักษณ์ด้านจิตรกรรม อัตลักษณ์ด้านปะติมากรรม อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ด้านประเพณีและกิจกรรมทางศาสนา สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี
  2. ศักยภาพด้านการตลาดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาท่องเที่ยว เช่น

1)    การที่นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีก็เนื่องจากเห็นว่า จังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีสถาปัตยกรรมเรื่องพระพุทธศาสนาสถานที่สวยงาม

2)    ศักยภาพด้านราคาของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นที่พึงพอใจต่อนักท่องเที่ยว

3)    สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ คือ การเดินทางมีความสะดวกสบาย (ถนน ป้ายบอกทาง) สถานที่ท่องเที่ยวมีสถานที่จอดรถสะดวกสบายและมีความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยว มีการจัดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสวยงาม

  1. ในส่วนของการขนส่งนักท่องเที่ยวนั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการขนส่งนักท่องเที่ยว การขนส่งนักท่องเที่ยวทั้งในส่วนของยานพาหนะ ค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
  2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมี 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1) แนวทางการพัฒนาบุคลากรในด้านการบริการ, 2) แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการทำงานองค์รวม และ 3) แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความพึงพอใจในการทำงาน

Keywords


นโยบาย;การพัฒนาบุคลากร;ธุรกิจที่พัก

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ISSN 2985-2757 (Print)

ISSN 2985-2765 (Online)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฟอร์มของวารสารฯ
     1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
     2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
     3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
     4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7    

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | Lampang Rajabhat University | 南邦皇家大學

- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ