การแปลสำนวนจีนประเภทสูอี่ว์ (汉语俗语) เป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง “เหวินเฉิง เมืองไร้ตัวตน《文城》” ของหยูหัว ฉบับแปลภาษาไทย โดย รำพรรณ รักศรีอักษร
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลสำนวนจีนประเภทสูอี่ว์เป็นภาษาไทยในนวนิยายเรื่อง “เหวินเฉิง เมืองไร้ตัวตน《文城》” ของหยูหัว ฉบับแปลภาษาไทย โดยรำพรรณ รักศรีอักษร ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบของการแปลคำที่เท่ากับต้นฉบับในด้านการแปลสำนวนจีนประเภทสูอี่ว์เป็นภาษาไทย สามารถแยกประเภทออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การแปลคำที่มีความหมายของภาษาเท่ากับต้นฉบับ 2) การแปลคำที่มีรูปแบบของภาษาเท่ากับต้นฉบับ 3) การแปลคำที่มีวัฒนธรรมและค่านิยมเท่ากับต้นฉบับ ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้แปลสามารถแปลสำนวนจีนประเภทสูอี่ว์เป็นภาษาไทยให้มีความเทียบเท่ากับต้นฉบับ คือ 1) รำพรรณ รักศรีอักษรเป็นผู้แปลที่ได้แปลผลงานของหยูหัวจำนวน 4 เล่ม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาจีนและลีลาการเขียนของหยูหัว จึงสามารถถ่ายทอดสำนวนจีนประเภทสูอี่ว์เป็นภาษาไทยได้อย่างดี 2) สำนวนจีนประเภทสูอี่ว์ส่วนใหญ่เป็นประโยคภาษาพูดที่มีความหมายตามตัวอักษรหรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ จึงสามารถเข้าใจความหมายได้ตามบริบท 3) วรรณกรรมจีนพากย์ไทยได้ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ในประเทศไทยและมีอิทธิพลต่อภาษาไทย สำนวนจีนประเภทสูอี่ว์บางสำนวนที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนพากย์ไทยได้รับความนิยมในหมู่ชาวไทยและค่อย ๆ พัฒนาเป็นสำนวนไทย ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจต้นฉบับภาษาจีนได้ง่ายขึ้น อนึ่ง ผู้แปลใช้กลวิธีการแปลที่หลากหลาย ซึ่งทำให้บทแปลไม่เพียงแต่ถ่ายทอดความหมาย รูปแบบ วัฒนธรรมและค่านิยมของภาษา ที่สื่อเท่ากับต้นฉบับ และทำให้ผู้อ่านชาวไทยสามารถเข้าใจความหมายหรือเจตนาของผู้ประพันธ์ที่จะสื่อได้เหมือนผู้อ่านชาวจีน ทั้งยังรักษาลีลาการเขียนของผู้ประพันธ์ได้อย่างดี
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ISSN 2985-2757 (Print)
ISSN 2985-2765 (Online)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบฟอร์มของวารสารฯ
1. แบบฟอร์มเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์
2. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย
3. แบบฟอร์มการเขียนบทความวิชาการ
4. รูปแบบการเขียนอ้างอิง-APA7
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
- คณะครุศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - คณะวิทยาการจัดการ - คณะเทคโนโลยีการเกษตร - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะพยาบาลศาสตร์ - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ฯ